นางเฉลา ศรีเพ็ชร์ ผู้อำน​ว​ยการ​ศูนย์​ส่งเสริม​อุตสาหกรรม​ภาค​ที่​ 8 มอบ​หมา​ยให้​ นาย​ชิ้น​ชัย​ จง​สุข​ไกล​ นักวิชาการ​อุต​สา​หก​รร​มชำนา​ญ​การ ทำหน้าที่ต้อนรับ​คณะ​ศึกษา​ดูงาน​ ​คณะ​ทำงานโครงการ​ SSRC จากส่วนกลาง​และ ศภ.1-11
ศภ.8 กสอ.ร่วมขับเคลื่อนแนวทางพัฒนาการให้บริการศูนย์ SSRC รูปแบบใหม่ สุพรรณบุรี : 16-18 ก.ย.63 นางเฉลา ศรีเพ็ชร์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมายให้ นายชิ้นชัย จงสุขไกล นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ ทำหน้าที่ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน คณะทำงานโครงการ SSRC จากส่วนกลางและ ศภ.1-11 นำโดย นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 30 คน ในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงานและเยี่ยมชมการให้บริการศูนย์ SSRC ของ ศภ.8 กสอ. ภายใต้กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "แนวทางการขับเคลื่อนและพัฒนาการให้บริการศูนย์ SSRC รูปแบบใหม่" ตั้งแต่วันที่ 16-18 ก.ย.63 จัดโดย ศส.กสอ. ณ โรงแรมศรีอู่ทองแกรนด์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โดย ศภ.8 กสอ. ได้นำเสนอรูปแบบการให้บริการ ผลการให้บริการและ succes scase กรณีศึกษา: กิมเซี๊ยะพาณิชย์ ซึ่งพบปัญหาจากกุ้งราคาตกต่ำและไม่ได้ขนาด ซึ่ง SSRC ได้ให้บริการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนสามารถจำหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์ พร้อมนี้ ที่ปรึกษาธุรกิจ SP ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการร่วมดำเนินงานศูนย์ SSRC เพื่อการส่งเสริมผู้ประกอบการร่วมกันผ่าน SSRC ณ ห้องประชุมประกายทอง ชั้น 3 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8
18 ก.ย. 2563
นางเฉลา ศรีเพ็ชร์ ผู้อำน​ว​ยการ​ศูนย์​ส่งเสริม​อุตสาหกรรม​ภาค​ที่​ 8 มอบ​หมา​ยให้​ นาย​ชิ้น​ชัย​ จง​สุข​ไกล​ นักวิชาการ​อุต​สา​หก​รร​มชำนา​ญ​การ ทำหน้าที่ต้อนรับ​คณะ​ศึกษา​ดูงาน​ ​คณะ​ทำงานโครงการ​ SSRC จากส่วนกลาง​และ ศภ.1-11
ศภ.8 กสอ.ร่วมขับเคลื่อนแนวทางพัฒนาการให้บริการศูนย์ SSRC รูปแบบใหม่ สุพรรณบุรี : 16-18 ก.ย.63 นางเฉลา ศรีเพ็ชร์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมายให้ นายชิ้นชัย จงสุขไกล นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ ทำหน้าที่ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน คณะทำงานโครงการ SSRC จากส่วนกลางและ ศภ.1-11 นำโดย นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 30 คน ในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงานและเยี่ยมชมการให้บริการศูนย์ SSRC ของ ศภ.8 กสอ. ภายใต้กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "แนวทางการขับเคลื่อนและพัฒนาการให้บริการศูนย์ SSRC รูปแบบใหม่" ตั้งแต่วันที่ 16-18 ก.ย.63 จัดโดย ศส.กสอ. ณ โรงแรมศรีอู่ทองแกรนด์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โดย ศภ.8 กสอ. ได้นำเสนอรูปแบบการให้บริการ ผลการให้บริการและ succes scase กรณีศึกษา: กิมเซี๊ยะพาณิชย์ ซึ่งพบปัญหาจากกุ้งราคาตกต่ำและไม่ได้ขนาด ซึ่ง SSRC ได้ให้บริการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนสามารถจำหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์ พร้อมนี้ ที่ปรึกษาธุรกิจ SP ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการร่วมดำเนินงานศูนย์ SSRC เพื่อการส่งเสริมผู้ประกอบการร่วมกันผ่าน SSRC ณ ห้องประชุมประกายทอง ชั้น 3 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8
18 ก.ย. 2563
ITC8 ให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่ SMEs ที่ต้องการปรับ Business Model
ITC8 ให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่ SMEs ที่ต้องการปรับ Business Modelศูนย์ ITC8 โดย นายชิ้นชัย จงสุขไกล นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ ทำหน้าที่ผู้จัดการศูนย์ ITC8 ให้คำปรึกษาแก่ นางวิภา อุรุวาทิน บริษัท เนเจอร์ อิน มี จำกัด จ.สุพรรณบุรี ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์สีทาอาคาร ที่เริ่มผลิตผลิตภัณฑ์สารสกัดจากสมุนไพร แต่ต้องการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม รวมทั้งต้องการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเชิงสุขภาพจากวัตถุดิบที่มี สำหรับจำหน่ายให้กับผู้รักสุขภาพ ศูนย์ ITC8 ได้ให้คำแนะนำเทรนด์ผลิตภัณฑ์ 2020 และแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค โดยใช้โมเดล BMC จำลองธุนกิจเพื่อประเมินความเป็นได้ทางการตลาด พร้อมทั้งนำเสนอต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ ITC8 ได้พัฒนาเพื่อใช้เป็นไอเดียในการกำหนดรูปแบบลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
17 ก.ย. 2563
บริษัท ผลไม้กระป๋องสยาม (1988) จำกัด เข้ารับบริการเครื่องจักรกลาง ในการทดลองผลิตว่านหางจระเข้ในรูปแบบของเหลว เพื่อหากรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิต
#ITC8 #สนับสนุนเครื่องจักรเพื่อยกระดับการผลิตให้กับ #SMEs บริษัท ผลไม้กระป๋องสยาม (1988) จำกัด ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋อง ว่านหางจระเข้บรรจุขวด จ.ประจวบคีรีขันธ์ เข้ารับบริการเครื่องจักรกลาง #เครื่องสเปรย์ดราย #SprayDryer ในการทดลองผลิตว่านหางจระเข้ในรูปแบบของเหลว เพื่อหากรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิต และจะนำตัวอย่างไปทดลองใช้เป็นวัตถุดิบในเครื่องสำอางและเครื่องดื่มว่านหางจระเข้ต่อไป ให้บริการโดย นายชาติชาย ตั้งต้นตระกูล นายช่างเทคนิคชำนาญงาน หัวหน้าทีมให้บริการเครื่องจักร และ นายสันติ วังทองชุก เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพัฒนาอุตสาหกรรม
15 ก.ย. 2563
กิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพเสริมระยะสั้น เพื่อการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน ให้แก่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นราษฎรทั่วไปในพื้นที่ จ.ราชบุรี
เมื่อวันอังคารที่ 15 ก.ย.63 ศภ.8 กสอ.ได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพเสริมระยะสั้น เพื่อการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน ให้แก่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นราษฎรทั่วไปในพื้นที่ จ.ราชบุรี ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ณ ตลาดกอบกุล ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.ราชบุรี โดยมีนายอานันท์ ฟักสังข์ อุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี เป็นประธานพิธีเปิด และได้รับเกียรติจากนางสาวกุลวลี นพอมรบดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี กล่าวต้อนรับผู้เข้าอบรมในครั้งนี้จำนวน 212 คน ประกอบด้วยหลักสูตร... ดูเพิ่มเติม
15 ก.ย. 2563
ITC8 สร้างต้นแบบผลิตภัณ์ ????Match-Okra Spread หรือ สเปรดจากกระเจี๊ยบเขียว
ITC8 #สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ Match-Okra Spread จากแนวคิด Zero waste product #ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ #ใส่ใจสุขภาพ .. #ITC8 #สร้างต้นแบบผลิตภัณ์ Match-Okra Spread หรือ #สเปรดจากกระเจี๊ยบเขียว ให้กับ วิสาหกิจชุมชนไร่เอกมณี จ.สระบุรี ผู้ปลูกกระเจี๊ยบเขียวเป็นหลัก ร่วมกับการปลูกผักอินทรีย์อื่น ๆ โดยขายให้ฟาร์มคัดเกรดและจำหน่ายไปยังตลาดในประเทศ และส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของกระเจี๊ยบเขียวของประเทศไทย Match-Okra Spread เกิดจากแนวคิดผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการนำกระเจี๊ยบเขียวตกเกรด ไม่ได้ขนาด ล้นตลาด และเหลือจากการขาย มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงสุขภาพที่มีความทันสมัย ให้ทั้งความอร่อยและประโยชน์จากกระเจี๊ยบเขียว แต่กระเจี๊ยบเขียวมีเมือกมาก จึงทำให้คนรุ่นใหม่ไม่นิยมรับประทาน จุดเด่นเทคโนโลยี คือ #การใช้สภาวะที่เหมาะสมในการล้างเมือกกระเจี๊ยบเขียว เพื่อลดปริมาณของเมือกที่จะส่งผลต่อเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ และใช้ #Flavor_Technology มาปรับใช้โดยใช้ Flavor matching กลิ่นรสของ #Matcha_Tea กับกลิ่นรสของ #Bean_Paste หลายชนิดในลักษณะ Plant Base Protien และรวมทั้งการใช้กระบวนการ #Pasteurization_Process เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค มีช่องทางจำหน่ายผ่านโรงแรมในเครือเมอเคียวและบาราคูด้า หน้าร้านอาหาร ร้านเบเกอรี่ และ Shopee #งบประมาณพัฒนาผลิตภัณฑ์ โครงการITCดีพร้อม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8
14 ก.ย. 2563
ประชุมเรื่อง การพัฒนาทักษะความรู้การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์และประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการ ภายใต้โครงการประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
วันจันทร์ที่ 14 กันยายน 2563 นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ และ นางสาวนุสรา เรือนเพ็ชร ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เข้าร่วมประชุมเรื่อง การพัฒนาทักษะความรู้การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์และประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการ ภายใต้โครงการประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ โรงแรมเดอะสุโกศล เขตพญาไทย กรุงเทพมหานคร
14 ก.ย. 2563
ศูนย์ ITC8 ร่วมกับ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาราชภัฏกาญจนบุรี จัดกิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้แก่นักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การประกอบอาชีพในอนาคต
ศูนย์ ITC8 ร่วมกับ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาราชภัฏกาญจนบุรี จัดกิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้แก่นักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การประกอบอาชีพในอนาคต สุพรรณบุรี : วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2563 นางเฉลา ศรีเพ็ชร์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ให้เกียรติกล่าวทักทายพูดคุย และร่วมกับ นางพิมพิชญา การบรรจง ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ และ นางชัญญาภัค มุณีจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากสาขาวิชาโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี จำนวน 30 คน ในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงานศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับภูมิภาค (ITC8) วัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการศึกษาดูงานในสถานประกอบการ เทคโนโลยีนวัตกรรม และเสริมสร้างองค์ความเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยมีนายชิ้นชัย จงสุขไกล นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ ทำหน้าที่ผู้จัดการศูนย์ ITC8 บรรยายและนำเสนอบริการภาพรวมของศูนย์ ITC8 ในโซนบริการต่าง ๆ และมี นายชาติชาย ตั้งต้นตระกูล นายช่างเทคนิคชำนาญงาน หัวหน้าทีมให้บริการเครื่องจักร นำชม Pilot Plant เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตอาหารและเกษตรแปรรูป และร่วมกับที่ปรึกษาธุรกิจจิตอาสา (Service Provider : SP) ดร.ชัยวัสส์ ติวสร้อย ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ และการวิเคราะห์ปัญหาธุรกิจ และ อ.ศลาวุฒ อรุณแข ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้าง Business Model ด้วย BMC บรรยายและ Workshop ในหัวข้อ “การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่” ที่เรียนรู้การประเมินคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของตนเอง และทักษะความเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ พร้อมแชร์ประสบการณ์ของที่ปรึกษาในสถานประกอบการ และเรียนรู้การใช้เครื่องมือ BMC ในการทดลองสร้างแบบจำลองธุรกิจของตนเอง เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับการประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป
10 ก.ย. 2563
ศูนย์ ITC8 พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ #ซุปไข่ไก่โปรตีนสูง ให้กับ “Beindy_Country_Farm” ไข่ไก่ปลอดสาร จากฟาร์มแม่ไก่อารมณ์ดี “บีอินดี้ คันทรี่ ฟาร์ม”
ซุปไข่ไก่โปรตีนสูง ผลิตภัณฑ์ตามคอนเซปต์ “#ธรรมดาโลกไม่จำ” สะดวกต่อการพกพา มีคุณค่าทางโภชนาการครบใน 1 มื้อ ศูนย์ #ITC8 พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ #ซุปไข่ไก่โปรตีนสูง ให้กับ “#Beindy_Country_Farm” #ไข่ไก่ปลอดสาร จากฟาร์มแม่ไก่อารมณ์ดี “บีอินดี้ คันทรี่ ฟาร์ม” จ.สุพรรณบุรี ที่มีแนวคิดการพัฒนาฟาร์มไข่ไก่ให้มีเอกลักษณ์ตามแบบฉบับ “#ธรรมดาโลกไม่จำ” มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 และมีการพัฒนาคุณภาพไข่ไก่เรื่อยมาจนปัจจุบันจำหน่ายให้กับ TOPs Supermartket , Gourmet Market 16 สาขา, ร้านอาหารออร์แกนิค ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ และผ่านออนไลน์ แต่มีไข่ไก่ขนาดเล็ก ร้อยละ 30 ที่ขายได้ราคาต่ำไม่แตกต่างจากไข่ไก่ธรรมดา จึงต้องการให้ ITC8 ช่วยเหลือเพื่อพัฒนาเป็น #ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ #ซุปไข่ไก่โปรตีนสูง มีโปรตีนสูง มีไขมันดี ปลอดสารพิษ สะดวกในการรับประทาน จัดเป็น Super Food ที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนใน 1 มื้อ ไข่ขาวมี #โปรตีนสูง ไข่แดงมี #เลซิติน สารต้านคลอเลสเตอรอล มี“#โคลีน” สารตั้งต้นสร้างสารสื่อประสาทซึ่งสร้างขึ้นภายในสมอง มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ สั่งงานกล้ามเนื้อให้ออก กำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในเรื่องของดวงตา มีสาร #ลูทีน (Lutein) และ #ซีแซนทีน (Zeaxanthin) ที่มีความสำคัญกับสุขภาพดวงตาด้วย นอกจากนี้ยังเพิ่มส่วนผสมจากผักกลุ่ม Super Food ที่ให้คุณค่าเพิ่มเติม ทั้ง #กรดอะมิโน 19 ชนิด #แร่ธาตุ 21 ชนิด #ไฟเบอร์ #Omega3 และ #Omega6 รวมทั้ง #แคลเซียม #งบประมาณพัฒนาผลิตภัณฑ์ : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
09 ก.ย. 2563
ITC8 ให้คำปรึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ว่านหางจระเข้” #แก้ไขปัญหาราคาตกต่ำ และสร้างมูลค่าเพิ่ม
ITC8 ให้คำปรึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “#ว่านหางจระเข้” #แก้ไขปัญหาราคาตกต่ำ และสร้างมูลค่าเพิ่ม น.ส.มินตรา แซ่พู กลุ่มวิสาหกิจชุมชน Aloe Vera ไร่แม่มะลิ–กุยบุรี และ Young Smart Farmer จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผู้ปลูกว่านหางจระเข้จำหน่ายสด และผลิตเป็นเครื่องสำอาง ภายใต้แบรนด์ “#สยามมินตรา” ขอรับคำปรึกษาจากศูนย์ #ITC8 โดย นายชิ้นชัย จงสุขไกล นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ ทำหน้าที่ผู้จัดการศูนย์ ITC8 เนื่องจากกลุ่มได้มีการพัฒนาการปลูกว่านหางจระเข้ในถิ่นฐานของตนเอง สร้างเครือข่ายในกลุ่มเพื่อนสมาชิกเกษตรกรจนเติบโต พัฒนา และเชื่อมโยงคนในชุมชน และรวมกลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากว่านหางจระเข้ จนกลายเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อความงามในด้านต่างๆ อาทิ สบู่ แชมพู ครีมนวดผม โลชั่น เจลบำรุงผิวหน้า จำหน่ายผ่านออนไลน์ และการออกบูธ และกำลังพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อาทิ สปาผิว และโฟมล้างหน้า แต่ยังพบปัญหาว่า #บางฤดูกาลว่านหางจระเข้สดที่ขายส่งให้กับโรงงานผลไม้กระป๋องมีราคาตกต่ำ เหลือประมาณ 2 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากโรงงานเป็นผู้กำหนดราคา จึงต้องการนำว่านหางจระเข้สดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ใช่การต้มในน้ำเชื่อม หรือเป็นเครื่องดื่มผสมว่านหางจระเข้ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่สะท้อนอัตลักษณ์ของพื้นที่และดีต่อสุขภาพ
08 ก.ย. 2563