กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564
สุพรรณบุรีวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 09.30 น. นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เป็นประธานในการจัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 โดยประธานในพิธีนำเจ้าหน้าที่ ศภ.8 กสอ. ถวายความเคารพหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ กล่าวคำน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากนั้นร่วมกันปลูกต้นทองอุไร และต้นดาวเรือง บริเวณด้านหน้าป้ายหน่วยงาน และร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบอาคารต่าง ๆ ภายใน ศภ.8 กสอ.
03 ธ.ค. 2564
นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เป็นประธานในการจัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564
สุพรรณบุรี วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 09.30 น. นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เป็นประธานในการจัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 โดยประธานในพิธีนำเจ้าหน้าที่ ศภ.8 กสอ. ถวายความเคารพหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ กล่าวคำน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากนั้นร่วมกันปลูกต้นทองอุไรและต้นดาวเรือง บริเวณด้านหน้าป้ายหน่วยงาน และร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบอาคารต่าง ๆ ภายใน ศภ.8 กสอ.
03 ธ.ค. 2564
ศภ.8 กสอ. ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม “นวัตกรรมหว่านวันแม่ เกี่ยววันพ่อ” เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น และการนำนวัตกรรมมาใช้เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร
ศภ.8 กสอ. ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม “นวัตกรรมหว่านวันแม่ เกี่ยววันพ่อ” เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น และการนำนวัตกรรมมาใช้เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 นายสารบูรณ์ บัวสกัด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน ศภ.8 กสอ. ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม “นวัตกรรมหว่านวันแม่ เกี่ยววันพ่อ” โดยมีนายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธาน พร้อมด้วยหัวส่วนราชการต่างๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรีเข้าร่วมงาน ณ ศูนย์สัมมาชีพต้นแบบเกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต.หนองราชวัตร อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี ในงานประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญดังนี้ 1. กิจกรรมประเพณีโบราณสืบสานวัฒนธรรมสบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น - ตำเข้าเม่า เผาข้าวหลาม - พิธีรับขวัญข้าว - การเก็บเกี่ยวข้าว 2. กิจกรรมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การวิจัยและพัฒนา เพิ่มมูลค่าไผ่” ระหว่าง สำนักงานสภาเษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี , วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี , ศูนย์สัมมาชีพต้นแบบเกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และกลุ่มคนรักไผ่ 3. ชมนิทรรศการเกี่ยวกับการพัฒนาพืชเกษตรกรรม การพัฒนาพันธุ์ข้าว และพันธุ์พืชต่างๆ ตั้งแต่ ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น การตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาวิธีการเพาะปลูก การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการอำนวยความสะดวก ลดเวลา ลดต้นทุน ได้ผลผลิตออกมาดี พร้อมส่งลูกค้า ตลาด และอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ให้มีมูลค่าเพิ่มต่อไป “เกษตรกรใช้ไฟเผาข้าวหลามให้สุกเพิ่มมูลค่า อุตสาหกรรมใช้นวัตกรรม ลด PM - 2.5 เพิ่มมูลค่าและพัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูปไทยให้ก้าวต่อไป”
03 ธ.ค. 2564
นายสารบูรณ์ บัวสกัด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน ศภ.8 กสอ. ร่วมประชุม ส่วนราชการ จังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ 8/2564 ประจำเดือน พฤศจิกายน 2564
จังหวัดสุพรรณบุรี วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 นายสารบูรณ์ บัวสกัด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน ศภ.8 กสอ. ร่วมประชุม ส่วนราชการ จังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ 8/2564 ประจำเดือน พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุมอาชาสีหมอก ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีนายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธาน พร้อมด้วยหัวส่วนราชการต่างๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรีเข้าร่วมประชุม โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ 1. การขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดให้มีกรทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance Province : HPP) 2. การจัดกิจกรรมเดินแบบผ้าไทยสุพรรณบุรี และกำหนดวันรวมน้ำใจกาชาด (ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสุพรรณบุรี) โดยกำหนดจัดกิจกรรม วันที่ 10 มกราคม 2565 และให้หน่วยงานส่งบุคลากรเข้าร่วมประกวด จำนวน 1 คู่ (ชาย 1 หญิง 1) 3. ให้หน่วยงานสำรวจความเสียหายจากเหตุอุทกภัยเพื่อบูรณาการวิธีการฟื้นฟูช่วยเหลือต่อไป 4. ขอความร่วมมือให้หน่วยงานแยกขยะพลาสติก ขวดพลาสติก เพื่อนำไปสู่กระบวนการหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์และกำจัดด้วยวิธีที่เหมาะสม หรือนำไปส่งจุดรวมขยะพลาสติกที่ศาลากลางจังหวัดสุพรรณได้ 5. สรุปผลการปฏิบัติงานสำคัญประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 ของจังหวัดและหน่วยงานต่างๆ และแนวทางในการบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการต่อยอดในการพัฒนาร่วมกัน
29 พ.ย. 2564
เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่ง พนักงานขับรถยนต์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ประกาศศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเสือกสรรเป็นพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่ง พนักงานขับรถยนต์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
06 ต.ค. 2563
ITC8 แนะนำรอบด้านเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ เพิ่มรายได้และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน
ITC8 แนะนำรอบด้านเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ เพิ่มรายได้และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน สุพรรณบุรี : 6 ตุลาคม 2563 นางเฉลา ศรีเพ็ชร์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ร่วมกับทีมงาน ITC8 ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ นางณัฐธิดา บุญส่ง เจ้าของไร่วงษ์สุวรรณ Young Smart Farmer จ.กาญจนบุรี ที่ผันตัวเองจากการทำงานประจำมากว่า 18 ปี สู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ มีผลผลิตทั้งกล้วยน้ำว้า มัน เผือก สาเก และพืชผักชนิดต่าง ๆ ในพื้นที่ 4 ไร่ ปัจจุบันเริ่มมีการแปรรูปกล้วยและมัน จำหน่ายในชุมชนและตลาดในพื้นที่ แต่พบปัญหาขาดเทคโนโลยีเพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้นานกว่า 15 วัน และต้องการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยและเกิดมูลค่าเพิ่ม ศูนย์ ITC8 ได้นำเยี่ยมชมเครื่องจักรกลางประเภทต่าง ๆ พร้อมให้คำแนะนำการเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม การคำนวณต้นทุนและราคาขายสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ นอกจากนี้ ทางด้านผลิตภัณฑ์เดิม ITC8 ได้ให้คำแนะนำการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านอาหารที่เหมาะสม / การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่จะช่วยยืดอายุ / มาตรฐานการผลิตเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภค / การออกแบบเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ และแนวทางการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย
06 ต.ค. 2563
อบรม หลักสูตร New Normal กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเกษตรแปรรูป : ผลิตได้ – ตั้งราคาขายเป็น - เขียน Content ได้ปัง!!
ศภ.8 พัฒนาผู้ประกอบการผ่านศูนย์ ITC เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยี พร้อมกับเรียนรู้วิธีวิเคราะห์ต้นทุน และสร้าง Content Marketing ให้โดนใจผู้บริโภค สุพรรณบุรี : 22 – 24 ก.ย. 2563 นางเฉลา ศรีเพ็ชร์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เป็นประธานพิธีเปิดและให้ไอเดียธุรกิจแก่ผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตร New Normal กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเกษตรแปรรูป : ผลิตได้ – ตั้งราคาขายเป็น - เขียน Content ได้ปัง!! วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการปรับตัวธุรกิจจาก Disruptive Technology และ Covid-19 ด้วยการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในยุค New Normal ที่เชื่อมโยงกับการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลางของ ITC ในการทดลองผลิต, เรียนรู้การคิดวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อกำหนดราคาขายที่เหมาะสม และเกิดความรู้ในการสื่อสารทางการตลาดด้วย Content Marketing Strategy ให้โดนใจผู้บริโภค เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความรู้ที่ครอบคลุมรอบด้าน พร้อมสำหรับการต่อยอดสู่การผลิตและจำหน่ายได้จริง รายละเอียดการอบรม วันที่ (1) บรรยายเทรนด์ผลิตภัณฑ์ 2020 หลังโควิด-19 และเยี่ยมชมเทคโนโลยีเครื่องจักร โดยนำข้อมูลมา Workshop จัดทำ Product concept ผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และทดสอบความต้องการของผู้บริโภคจากผู้เข้าอบรม วันที่ (2) การวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อกำหนดราคาขาย และ Workshop จากเคส Product concept พร้อมนำเสนอในรูปแบบ Pitching วันที่ (3) การสื่อสารทางการตลาด Content Marketing, เทคนิควิธีการเขียน Content และ Workshop จากเคส Product concept เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงครอบคลุมรอบด้าน จัดโดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ณ ห้องประชุมประกายทอง ชั้น 3 มีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้น 80 คน
25 ก.ย. 2563
ITC8 สนับสนุนการสร้างรายได้ให้เครือข่ายเกษตรอำเภอกุยบุรี ด้วยการพัฒนาต้นแบบ Aloe Vera Cube จากเทคโนโลยีและเครื่องจักร แก้ไขปัญหาราคาตกต่ำ เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร
#ITC8 สนับสนุนการสร้างรายได้ให้เครือข่ายเกษตรอำเภอกุยบุรี ด้วยการพัฒนาต้นแบบ Aloe Vera Cube จากเทคโนโลยีและเครื่องจักร แก้ไขปัญหาราคาตกต่ำ เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์ ITC8 ได้พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ “#ว่านหางจระเข้เต๋า” #Aloe_Vera_Cube รสบีทรูท และ รสสับปะรด ให้กับ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน Aloe Vera ไร่แม่มะลิ-กุยบุรี” ที่รวมตัวสร้างเครือข่ายเพื่อนสมาชิกเกษตรกรของอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปลูกขายสด ส่งโรงงาน และนำบางส่วนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ภายใต้แบรนด์ “สยามมินตรา” แต่ยังพบปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ และมีผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ไม่หลากหลาย #จุดเด่นของเทคโนโลยี คือ การเลือกใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่ทำให้ไม่มีความรู้สึกติดค้างในปากหลังรับประทาน และมีดัชนี Glycemic index ต่ำ ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไม่เกิดปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาล ใช้สีจากธรรมชาติ และมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติค (Prebiotics) ร่วมกับเครื่องจักรกลาง Tray Dryer ในการพัฒนา #จุดเด่นผลิตภัณฑ์ คือ มีส่วนผสมหลักจากเนื้อวุ้นของว่านหางจระเข้ ที่มีสรรพคุณป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอล ควบคุมความดัน ลดอาหารอักเสบ มีสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มโรค อยู่ในรูปแบบที่รับประทานได้ง่าย พกพาสะดวก สนุกในการกิน มีรสชาติอร่อย และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพและผู้สูงอายุ พร้อมให้บริการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ที่พัฒนา เพื่อให้ผู้ประกอบการใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดย ITC8 จะสนับสนุนเครื่องจักรเพื่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรมเพื่อนำไปทดลองจำหน่ายก่อนการลงทุนเชิงพาณิชย์ต่อไป #งบประมาณพัฒนาผลิตภัณฑ์ โครงการ ITC ดีพร้อม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8
21 ก.ย. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้แอปพลิเคชั่น TIK TOK สอนเต้นอย่างไรให้ได้เงินล้าน”
วันเสาร์ที่ 19 กันยายน 2563: ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้แอปพลิเคชั่น TIK TOK สอนเต้นอย่างไรให้ได้เงินล้าน”ซึ่งได้รับเกียรติจากนางเฉลา ศรีเพ็ชร์ ผู้อำนวยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เป็นประธานเปิดการสัมมนาฯ โดย นางพิมพิชญา การบรรจง ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ เป็นผู้กล่าวรายงาน มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 80 คน ณ โรงแรมเซ็นทรัลเพลส อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
19 ก.ย. 2563