แผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
จังหวัดสุพรรณบุรี วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวปิยกุล กรรณสูต ประธานคณะทำงานคุณธรรม พร้อมด้วย นายพงษ์ธร โพธิน เลขานุการคณะทำงานคุณธรรม ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าพบ นายสุวัฒน์ มนต์วิเศษ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรรณบุรี เพื่อส่งแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมระดับหน่วยงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรและหน่วยงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ตามแบบของ จังหวัดสุพรรณบุรี) ตามหนังสือ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ที่ อก 0418/8 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เรื่องแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมในภาพรวมของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อจากนั้น ในวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพะันธ์ 2567 นางสาวปิยกุล กรรณสูต ประธานคณะทำงานคุณธรรมฯ ได้เข้าพบ นายสุวัฒน์ฯ เพื่อหารือแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาหน่วยงานให้ปฏิบัติงานได้ตามเกณฑ์องค์กรคุณธรรม ไม่ต่ำกว่าระดับ 3 : องค์กรคุณธรรมต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาหน่วยงาน ขับเคลื่อนคุณธรรม ให้เข้มแข็ง และสร้างภาพลักษณ์การเป็นองค์กรคุณธรรมของหน่วยงานต่อไป
18 ก.พ. 2567
กิจกรรมจิตอาสาอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี 2567
จังหวัดสุพรรณบุรี วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ร่วมกับภาคประชาสังคม ได้แก่ คณะสงฆ์วัดอู่ยา คณะครูและนักเรียนโรงเรียนวัดอู่ยา เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอกกำยาน และกรมประมง ร่วมทำกิจกรรม "จิตอาสาอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม” เพื่อส่งเสริมและปลูกฝั่งค่านิยม ให้แก่บุคลากรในหน่วยงาน ทำความดี รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการ ที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อม แสดงออกถึงความกตัญญูต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ วัดอู่ยา และโรงเรียนวัดอู่ยา ต.ดอนกำยาน อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี โดยกำหนดกิจกรรม ดังนี้ - กิจกรรมปล่อยพันธุ์ปลา เพื่อฟื้นฟูแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ณ ท่าน้ำวัดอู่ยา ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี - กิจกรรมทำความสะอาด ศาสนสถานบริเวณวัดอู่ยา - ทำความสะอาดรอบโบสถ์ และในโบสถ์ - ทำความสะอาดห้องน้ำวัดอู่ยา - กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์และรักษาสิ่งแวดล้อม ตัดหญ้า ตัดตกแต่งกิ่งไม้ เพื่อปรับภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณวัดและโรงเรียนวัดอู่ยา - ทาสีทางม้าลาย และตีเส้นกลางให้กับสถานศึกษา โรงเรียนวัดอู่ยา เพื่อสร้างความปลอดภัยทางเท้าให้กับเด็กนักเรียน
16 ก.พ. 2567
กิจกรรมการเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจที่เกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรม กสอ. เพื่อตอบสนองการบริการประชาชน ปี 2567
จังหวัดสุพรรณบุรี วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เป็นประธานการประชุมหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคทึี่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2/2567 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมประกายแดง ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ คณะทำงานคุณธรรมฯ ได้จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรม กสอ. เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานทราบหลักเกณฑ์การปฏิบัติตนและรักษาคุณงามความดีที่ข้าราชการต้องยึดถือในการปฏิบัติงาน และให้ข้าราชการเกิดสำนึกลึกซึ้งและเที่ยงธรรมในหน้าที่ ผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีข้าราชการควรแก่ความไว้วางใจและความเชื่อมั่นของประชาชน มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและรักษาจริยธรรมอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ คณะทำงานคุณธรรมฯ ได้บรรยายให้ความรู้และความเข้าใจที่เกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรม เพื่อตอบสนองการบริการประชาชน จำนวน 4 หัวข้อ ดังนี้ - มาตรฐานทางจริยธรรม จำนวน 7 ข้อ (โดย นางสาวปิยกุล กรรณสูต) - ข้อกำหนดจริยธรรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จำนวน 3 ข้อ (โดยนายพงษ์ธร โพธิน) - ข้อกำหนดจริยธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 16 ข้อ (โดนายพงษ์ธร โพธิน) - หลักในการบริการที่ดีภายใต้หลักธรรมาภิบาล พฤติกรรมที่ควรปฏิบัติ และ พฤติกรรมที่ไม่ควรปฏิบัติ (โดยนางสาวสีวลี ศิลป์วรศาสตร์)
13 ก.พ. 2567
ประชุมคณะทำงานคุณธรรมจริยธรรม ครั้งที่ 2/2567
จังหวัดสุพรรณบุรี วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวปิยกุล กรรณสูต ประธานคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แผนป้องกันและปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ประชุมครั้งที่ 2/2567 ณ ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารอำนวยการ ศภ.8 กสอ. มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน จำนวน 8 คน ไม่เข้าร่วมประชุม 1 คน เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. ประธานการประชุมฯ แจ้งเรื่องส่งการประเมินองค์กรคุณธรรม ตัวชี้วัดที่ 1-9 ให้จังหวัดสุพรรณบุรี ภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และ ตัวชี้วัดที่ 1-6 ให้ สล.กสอ. ภายในวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2567 การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ได้แก่ กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ และกิจกรรมนวัตกรรมสื่อ ในวันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567, กิจกรรมจิตอาสาอนุรักษ์ทรัพยากร ในวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567, กิจกรรมรวมพลังทำ 5ส ในวันอังคารที่ 20 และวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567, กิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจ ในวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567, รายงานผลปฏิบัติการ จำนวน 6/15 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 40 และรายงานผลการประเมินองค์กรคุณธรรม ระดับที่ 3 องค์กรคุณธรรมต้นแบบ ตัวชี้วัดที่ 1-3 จำนวน 9/21 คะแนน
09 ก.พ. 2567
กิจกรรมแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ปี 2567
จังหวัดสุพรรณบุรี วันอังคารที่ 30 มกราคม 2567 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 นำทีมเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ดำเนินกิจกรรมแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้ร่วมแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รวมทั้งร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกันผูกผ้าระบายสีเหลืองและสีขาวประดับพระบรมฉายาลักษณ์ และประดับตามรั้วสำนักงาน จัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเครื่องราชสักการะ รวมทั้งประดับธงชาติไทย ธงตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ28 กรกฎาคม 2567 ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2567 ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนมาลัยแมน ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ตามหนังสือศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ สพ 0017.3/ว430 ลงวันที่ 8 มกราคม 2567 เรื่องการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยดำเนินกิจกรรมระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2567
30 ม.ค. 2567
แผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
จังหวัดสุพรรณบุรี วันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 คณะทำงานตามคำสั่ง ศภ.8กสอ. ที่ 2/2567 ลงวันที่ 19 มกราคม 2567 ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หน่วยงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ตามแบบของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนการส่งเสริม พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ให้บุคลากรของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีการปฏิบัติตามหลักมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งยกระดับหน่วยงานไปสู่การเป็นองค์กรพัฒนาคุณธรรม ตามเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรม ซึ่งดำเนินการเรียบร้อยเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567
25 ม.ค. 2567
ประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนการเป็นองค์กรคุณธรรม ปี 2567
จังหวัดสุพรรณบุรี วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2567 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ได้ประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนการเป็นองค์กรคุณธรรมของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้กับบุคลากรในสังกัด เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความตั้งใจในการดำเนินการส่งเสริม พัฒนา และขับเคลื่อนหน่วยงานไปสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมภายในหน่วยงาน ด้วยการปลูกฝังระเบียบวินัย ค่านิยมที่พึงประสงค์ และให้บุคลากรยึดมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และร่วมกันสืบสานวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม รวมทั้งการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งคุณธรรมที่พึงประสงค์ 5 ประกาศ ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และ กตัญญู เพืื่อวางรากฐานให้บุคลากรมีส่วนร่วมสร้างสังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรมอย่างยั่งยืน จึงได้กำหนดคุณธรรมเป้าหมาย "ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ" เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดี มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของผู่้รับบริการ โดยยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล พร้อมทั้งประกาศ "ปัญหาที่อยากแก้" และ "ความดีที่อยากทำ" เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม โดยได้ประกาศไว้ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567 จึงกล่าวได้ว่า หากบุคลากรศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สามารถดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติแะแนวทางการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้แล้วนั้น ย่อมส่งผลให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ตามประกาศนโยบายของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ได้กำหนดไว้ โดยได้ประกาศในการประชุมหน่วยงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2567 ประจำเดือนมกราคม 2567 ในวันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมประกายแดง ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี ดังนี้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขอแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน จะพัฒนาและส่งเสริมจริยธรรมที่สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ บทบาทภารกิจ สภาพปัญหาด้านจริยธรรมและวัฒนธรรมองค์กร มีการปฏิบัติตนตามหลักมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง ร่วมขับเคลื่อน กอง/ศูนย์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ไปสู่องค์กรคุณธรรมต้นแบบ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมไปสู่องค์กรคุณธรรมต้นแบบ โดยมุ่งเน้นคุณธรรม จริยธรรม และธรรมมาภิบาลในหน่วยงาน ด้วยการปลูกฝังระเบียบวินัย ค่านิยมที่พึงประสงค์ และให้บุคลากรยึดมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และร่วมกันสืบสานวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม รวมทั้งการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งคุณธรรมที่พึงประสงค์ 5 ประการ ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู เพื่อวางรากฐานให้บุคลากรมีส่วนร่วมสร้างสังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรมอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดี บุคลากร กอง/ศูนย์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ ภายใต้องค์กรธรรมาภิบาล ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ จึงได้กำหนดคุณธรรมเป้าหมาย “ปัญหาที่อยากแก้” และ “ความดีที่อยากทำ” ดังนี้ ปัญหาที่อยากแก้ 1) การรักษาสภาพแวดล้อม รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในหน่วยงาน ยังไม่ครบถ้วนตามหลัก 5 ส สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย 2) การเพิ่มความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความดีที่อยากทำ 1) การเสริมสร้างจิตสำนึกต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2) การเสริมสร้างจิตบริการของเจ้าหน้าที่ต่อผู้รับบริการ 3) การปฏิบัติตนตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรม 4) การยกย่องเชิดชู ประกาศเกียรติคุณเจ้าหน้าที่ ที่ทำความดีจนเป็นแบบอย่าง 5) การยกย่องเชิดชูกลุ่มงานที่มีบทบาทและสามารถสร้างคนดีเพื่อสังคมดีส่งเสริมให้คน ในองค์กร มีทัศนคติ วิธีคิด และการประพฤติปฏิบัติตนที่ดี สร้างคุณค่าให้องค์กร 6) การมีจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือผู้อื่น สังคม ประชาชน ส่วนรวม โดยมิหวังผลตอบแทน 7) การมีจิตอาสาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม 8) การสืบสานประเพณี วิถีวัฒนธรรมไทยอันดีงาม 9) การยึดมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา
25 ม.ค. 2567
ประชุมคณะทำงานคุณธรรมจริยธรรม ครั้งที่ 1/2567
จังหวัดสุพรรณบุรี วันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ที่ปรึกษาคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แผนป้องกันและปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารอำนวยการ ศภ.8 กสอ. มีผู้เข้าร่วมประชุม 7 คน ไม่เข้าร่วมประชุม 3 คน เริ่มประชุมเวลา 09.50 น. ประธานการประชุมฯ ได้แจ้งเรื่องคำสั่งคณะทำงานฯ มีการพิจารณาปัญหาที่อยากแก้ จำนวน 2 ข้อ และความดีที่อยากทำ จำนวน 9 ข้อ มีการกำหนดแผนปฏิบัติการ 17 กิจกรรม ได้แก่ 1.ประกาศนโยบายขับเคลื่อนเป็นองค์กรคุณธรรม 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ 3.พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ 4.กิจกรรมแสดงความจงรักภักดี 5.กิจกรรม 5ส. 6. กิจกรรมจิตอาสาในโอกาสต่าง ๆ 7.ปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนา 8.สืบสานประเพณีวัฒนธรรม 9.จิตอาสาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 10.ส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจ 11.เสริมสร้างความรู้ 12.นวัตกรรมสื่อ 13.คนดีมีคุณธรรม 14.กลุ่มงานคุณธรรม 15.ประชุมคณะทำงาน 16.เผยแพร่องค์ความรู้ 17.พัฒนาหน่วยงาน ซึ่งภายหลังมีการปรับแผน ตัดกิจกรรมข้อ 15, 17 ออก และนัดประชุมครั้งที่ 2/2567 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เรื่องสืบเนื่อง ได้แก่ ผู้รับผิดชอบกิจกรรมไปสำรวจและเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม เกณฑ์การคัดเลือก “คนดีมีคุณธรรมที่ DIPROM” และ “กลุ่มงานส่งเสริมคุณธรรมที่ DIPROM”
23 ม.ค. 2567
กิจกรรมปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาและศรัทธาของชาวศูนย์ภาค 8 ปี 2567
จังหวัดสุพรรณบุรี วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2567 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 นำทีมเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ดำเนินกิจกรรมปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาและศรัทธาของชาวศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาศรัทธา ยึดมั่น และปฏิบัติตนตามหลักศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี โดยร่วมกันตักบาตรพระสงฆ์ ตักบาตรทางน้ำ “นาวาภิกขาจาร” แต่งไทยใส่บาตร ย้อนวิถีชาวพุทธ คนลุ่มแม่น้ำท่าจีน โดยร่วมกับกลุ่มประชาสังคมต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมกัน ได้แก่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณุบรี ส่วนราชการต่าง ๆ และประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี ตามหนังสือศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ สพ 0032/ว26515 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2567 เรื่องขอเชิญร่วมกิจกรรมตักบาตรทางน้ำ "นาวาภิกขาจาร" แต่งไทยใส่บาตร ย้อนวิธีชาวพุทธ คนลุ่มแม่น้ำท่าจีน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2567) ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนา ศรัทธา ยึดมั่น เป็นแบบอย่างที่ดี ด้วยการนั่งสมาธิทุกวันพระ : ดำเนินการเป็นประจำทุกวันพระ ระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ถึง วันที่ 23 เมษายน 2567 รวมจำนวน 15 ครั้ง การปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาศรัทธา ยึดมั่น และปฏิบัติตนตามหลักศาสนา จะเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี
21 ม.ค. 2567
คณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปี 2567
การแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 คำสั่ง ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ 2/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การขับเคลื่อน การดำเนินการตามหลักมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการ รักษาจริยธรรม การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ------------------------------------------------- ตามคำสั่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ 1/2566 ลงวันที่ 19 มกราคม 2566 ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (Integrity and Transparency Assessment : ITA) เพื่อทำหน้าที่จัดทำและขับเคลื่อนการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การดำเนินการตามข้อกำหนดจริยธรรม การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการทุกภาคส่วนตามแนวทางที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้กำหนดไว้ นั้น เนื่องจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคณะทำงาน ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การขับเคลื่อนการดำเนินการตามหลักมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรม การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity And Transparency Assessment : ITA) ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้บุคลากรมีการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม ยกระดับหน่วยงานไปสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ และยกระดับดัชนีคุณธรรมของบุคลากรภาครัฐ พร้อมทั้งยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานภาครัฐของหน่วยงานเพิ่มขึ้น ตามแนวทางที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้กำหนดไว้ จึงมีคำสั่งดังนี้ 1. ให้ยกเลิกคำสั่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ 1/2566 ลงวันที่ 19 มกราคม 2566 2. แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การขับเคลื่อนการดำเนินการตามหลักมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรม การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity And Transparency Assessment : ITA) ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ องค์ประกอบ (1) ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ที่ปรึกษา (2) ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค ประธานคณะทำงาน (3) ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน คณะทำงาน (4) ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ หรือรักษาการผู้อำนวยการกลุ่ม คณะทำงาน (5) ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมหรือรักษาการผู้อำนวยการกลุ่ม คณะทำงาน (6) นายพงษ์ธร โพธิน นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ คณะทำงานและเลขานุการ (7) นางสาววรางคณา เซ็นชัด นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ (8) นายปรีดี สว่างศรี ช่างเครื่องมือกล ช 4 คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ (9) นางสโรชา ทองแผ่ พนักงานเทคนิคอุตสาหกรรม ส 3 คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ (10) นายฉัตรชัย เล้าอรุณ นักจัดการงานทั่วไป คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ หน้าที่และอำนาจ (1) จัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมทั้งรายงานผลให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินงานตามที่กำหนด (2) ขับเคลื่อน รายงานผล และรวบรวมเอกสาร การดำเนินการตามหลักมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรม การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ให้เป็นไปตามกรอบแนวทาง ระยะเวลาดำเนินงานตามที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกำหนด (3) ประชุม กำกับ ติดตาม ประเมินผล และให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมการดำเนินการตามหลักมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรม การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) (4) พิจารณา กลั่นกรอง คัดเลือก บุคคลากรและหน่วยงานในสังกัด ที่มีผลงานโดดเด่น เพื่อประกาศยกย่องเชิดชู บุคลากร และหน่วยงานที่มีการส่งเสริมคุณธรรมเป้าหมายจนเป็นแบบอย่าง (5) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรม การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐภายในหน่วยงาน และประชาชน ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (6) ถ่ายทอดนโยบาย กำกับดูแลให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหลักมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และประกาศเชิงนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การป้องกันและปรามปราบการทุจริตและประพฤตมิชอบ การดำเนินการเพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร (7) ประชาสัมพันธ์ แนะนำให้คำปรึกษา สร้างการรับรู้ ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) และเผยแพร่ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT) (8) สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ชุมชน สังคม ทำกิจกรรม ในรูปแบบรับผิดชอบต่อสังคม รับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนและนำมาปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานตามความคาดหวังภาคประชาชน ที่ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และการดำเนินการด้วยความสุจริต มีธรรมมาภิบาล อย่างต่อเนื่อง (9) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2567
19 ม.ค. 2567