การพัฒนาหน่วยงานให้ปฏิบัติงานได้ตามเกณฑ์องค์กรคุณธรรม ไม่ต่ำกว่าระดับ 3 : องค์กรคุณธรรมต้นแบบ
จังหวัดสุพรรณบุรี วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 คณะทำงานส่งเสริมคุณธรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สรุปรายงานการประเมินองค์กรคุณธรรมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของหน่วยงาน "ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม" โดยมีการดำเนินการตามเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรม ดังนี้ ตัวชี้วัดที่ 1 องค์กรมีการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นองค์กรคุณธรรม โดยยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิถีวัฒนธรรมไทย และคุณธรรม 5 ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู (3 คะแนน) ตัวชี้วัดที่ 2 องค์กรมีการกำหนดเป้าหมาย จาก “ปัญหาที่อยากแก้” และ “ความดีที่อยากทำ” ที่สอดคล้องกับหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงวิถีวัฒนธรรมไทย และคุณธรรม 5 ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู (3 คะแนน) ตัวชี้วัดที่ 3 องค์กรมีการจัดทำแผนการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในข้อที่ 2 อย่างมีส่วนร่วมของบุคลากร เพื่อการพัฒนาองค์กร (3 คะแนน) ตัวชี้วัดที่ 4 องค์กรมีผลสำเร็จของการดำเนินงานตามเป้าหมายของแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ ในข้อที่ 3 (3 คะแนน) ตัวชี้วัดที่ 5 องค์กรมีการประเมินผลหรือรายงานผลการดำเนินงาน มีการปรับปรุงหรือพัฒนา มีการทบทวนหรือถอดบทเรียน เพื่อให้การดำเนินงานมีผลสำเร็จเพิ่มมากขึ้น และเป็นไปตามเป้าหมายของแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในข้อที่ 3 (3 คะแนน) ตัวชี้วัดที่ 6 องค์กรมีการยกย่อง เชิดชู บุคลากรและหน่วยงานที่มีคุณธรรมหรือทำความดี จนเป็นแบบอย่างได้ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานตามเป้าหมายของแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในข้อที่ 3 (3 คะแนน) ตัวชี้วัดที่ 7 องค์กรมีผลสำเร็จของการดำเนินงานตามเป้าหมายของแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในข้อที่ ๓ เพิ่มมากขึ้น องค์กรมีบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรมและบุคลากรมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น (3 คะแนน) ตัวชี้วัดที่ 8 องค์กรมีการรวบรวมองค์ความรู้หรือผลสำเร็จการดำเนินกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในข้อที่ 3 โดยจัดทำเป็นเอกสาร และจัดทำสื่อในรูปแบบต่าง ๆ (3 คะแนน) ตัวชี้วัดที่ 9 องค์กรมีขีดความสามารถในการเผยแพร่เอกสารองค์ความรู้หรือผลสำเร็จ การดำเนินกิจกรรม และมีความพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับองค์กรอื่น ๆ ได้ (3 คะแนน) รวมคะแนนตัวชี้วัด ข้อที่ 1 - 9 จำนวน 27 คะแนน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีผลการประเมินองค์กรคุณธรรม ระดับ 3 องค์กรคุณธรรมต้นแบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาหน่วยงาน ขับเคลื่อนคุณธรรมให้เข้มแข็ง และสร้างภาพลักษณ์การเป็นองค์กรคุณธรรมของหน่วยงาน
14 มิ.ย. 2567
กิจกรรมจิตอาสาอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี 2567 (ครั้งที่ 4)
จังหวัดสุพรรณบุรี วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2567 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ศภ.8 กสอ. เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา "พัฒนาที่ดินเพิ่มผลผลิตอ้อยในการผลิตน้ำตาล" เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2567 ภายใต้โครงการจิตอาสา "อุตสาหกรรมรวมใจ ดูแลสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ลม ไฟ" ณ บริษัท น้ำตาลราชบุรี จำกัด (โรงงานน้ำตาลเมืองกาญจน์) ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีโดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม พร้อมกันนี้ได้ร่วมกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและหน่วยงานราชในพื้นที่ • กล่าวคำปฏิญาณพร้อมกัน "เราทำความดี ด้วยหัวใจ" และทั้งนี้ได้มี การกล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดย ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทน้ำตาลราชบุรี กล่าวต้อนรับ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดย นายรณภพ เวียงสิมมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์กิจกรรม "พัฒนาที่ดินเพิ่มผลผลิตอ้อยในการผลิตน้ำตาล"โดย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งการจัดโครงการ ในวันนี้มีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมจิตอาสา การรับมอบปุ๋ยหมักชีวภาพและพันธุ์อ้อย ชมการสาธิตการปรับปรุงดินและการใส่ปุ๋ย และเยี่ยมชมบูธจากหน่วยงานต่างๆที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย
12 มิ.ย. 2567
เผยแพร่เอกสารองค์ความรู้จากการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
จังหวัดสุพรรณบุรี วันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 คณะทำงานส่งเสริมคุณธรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รวบรวมองค์ความรู้หรือผลสำเร็จการดำเนินกิจกรรม ตามแผนการดำเนินงาน โดยจัดทำเป็นสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบคลิปวีดีโอ พาวเวอร์พอยส์ และ รูปเล่มรายงานการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมคุณธรรมของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้หรือผลสำเร็จการดำเนินกิจกรรม ให้แก่บุคคลภายในองค์กร และภายนอกองค์กรและมีความพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับองค์กรอื่น ๆ ได้ โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แสดงเจตนารมณ์มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมคุณธรรมในองค์กรและเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมคุณธรรม โดยการบริหารจัดการภายในองค์กรให้เป็นไปตามนโยบายขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม คุณธรรมเป้าหมาย ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกในองค์กรมีคุณธรรมเป็นรากฐานในการดำเนินชีวิต มุ่งสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อจัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ใน Website “ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8” https://ipc8.dip.go.th ในหัวข้อ “การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร” หัวข้อย่อย “การดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม” และ ได้จัดทำสื่อ จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ คลิปวิดีโอ พาวเวอร์พอยส์ และรายงานรูปเล่ม อีกทั้งได้เผยแพร่ ผ่าน 4 ช่องทาง ได้แก่ ช่องทางเว็บไซต์หน่วยงาน Facebook หน่วยงาน ไลน์กลุ่มต่าง ๆ บันทึกแจ้งเวียน และหนังสือแจ้งหน่วยงานภายนอก สำหรับเป็นองค์ความรู้ ผลสำเร็จของการดำเนินการ และมีความพร้อมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับหน่วยงาน หรือองค์กรอื่นๆ ได้ สื่อ จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ คลิปวิดีโอ พาวเวอร์พอยส์ และรายงานรูปเล่ม ดังนี้ คลิปวีดิโอผลสำเร็จการดำเนินงาน 2. พาวเวอร์พอยส์ผลสำเร็จการดำเนินงาน https://ipc8.dip.go.th/th/category/2023-02-22-10-50-18/2024-04-30-14-17-34 3. รายงานรูปเล่ม https://ipc8.dip.go.th/th/category/2023-02-22-10-50-18/2024-05-27-10-56-12
12 มิ.ย. 2567
กิจกรรมจิตอาสาอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี 2567 (ครั้งที่ 3)
จังหวัดสุพรรณบุรี วันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดสุพรรณบุรี ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอเดิมบางนางบวช และภาคประชาสังคมในจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมทำกิจกรรม "จิตอาสาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” เนื่องในโอกาสวันสำคัญของชาติไทย ประจำปี พ.ศ. 2567 วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ณ บึงกำมะเชียร ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้ กล่าวคำปฏิญาณ "เราทำความดี ด้วยหัวใจ" พร้อมกัน 3 ครั้ง แล้วยกมือขวาขึ้น กล่าวคำว่า "เฮ้" กิจกรรมจิตอาสา ดังนี้ - กิจกรรมปล่อยพันธุ์ปลา เพื่อฟื้นฟูแหล่งน้ำตามธรรมชาติ - กิจกรรมปลูกต้นไม้ และมอบต้นไม้ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน - กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและปลูกฝั่งค่านิยม ให้แก่บุคลากรในหน่วยงาน ทำความดี รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการ ที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อม แสดงออกถึงความกตัญญูต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
04 มิ.ย. 2567
กิจกรรมแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ปี 2567 (ครั้งที่ 3)
จังหวัดสุพรรณบุรี วันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้จัดพิธีรับหมวกและผ้าพันคอพระราชทานต่อเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับใช้ในการปฏิบัติจิตอาสาในโครงการจิตอาสา "เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ตามพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการที่เป็นการพัฒนาสังคมและสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยมี นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เป็นประธานในพิธี มอบหมวกและผ้าพันคอพระราชทาน แก่ผู้สมัครจิตอาสาพระราชทาน อย่างสมเกียรติ สอดคล้องตามแนวทางของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ให้แก่บุคลากรของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จำนวน 5 คน ดังนี้ 1. นายชาติชาย ตั้งต้นตระกูล 2. นางชรินทร์ทิพย์ ตั้งต้นตระกูล 3. นางปุณชญา เปี่ยมวิไล 4. นางสาวนุชสรา อู่พันธุ์ 5. นางสาวจินตนา แถวนาม และได้นำทีมเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้แสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการแต่งกายชุดจิตอาสา กล่าวคำปฏิณาณว่า "เราทำความดี ด้วยหัวใจ" พร้อมกัน แล้วยกมือขวาขึ้น กล่าวคำว่า "เฮ้" ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
29 พ.ค. 2567
กิจกรรมปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาและศรัทธาของชาวศูนย์ภาค 8 ปี 2567 (ครั้งที่ 4)
จังหวัดสุพรรณบุรี วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2567 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมายให้ นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ นำทีมเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ดำเนินกิจกรรมปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาและศรัทธาของชาวศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ สำนักงานพระพทธศาสนาจังหวัดสุพรรณบุรี หน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี และ คณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรี นำเจริญพระพุทธมนต์ กล่าวสัมโมทนียกถา เจริญจิตตภาวนา ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยนายประทีป การมิตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธีฯ ระหว่างเวลา 15.00 - 16.30 น. ณ วัดหนองทราย ตำบลหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาศรัทธา ยึดมั่น และปฏิบัติตนตามหลักศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี TOP
28 พ.ค. 2567
กิจกรรมรวมพลังทำ 5ส. ปรับพื้นที่ให้น่าอยู่ พร้อมรับการปฏิบัติงาน ปี 2567 (ครั้งที่ 5)
จังหวัดสุพรรณบุรี วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 นำทีมเจ้าหน้าที่จิตอาสาภาคประชาชนของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมบูรณาการความร่วมมือกับจังหวัดสุพรรณุบรี และ ร้านเบญญาพานิช ดำเนินกิจกรรมรวมพลังทำ 5ส. ปรับพื้นที่ให้น่าอยู่ พร้อมรับการปฏิบัติงาน Big Cleaning Day อย่างต่อเนื่อง เป็นครั้งที่ 5 โดยร่วมกันดูแลรักษาทำความสะอาดอาคารสถานที่ทำการ และพื้นที่สาธารณะ ได้แก่ เก็บกวาดขยะและสิ่งปฏิกูลรอบอาคารหัตถ-อุตสาหกรรม และปรับภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณของหน่วยงาน เพื่อให้ทุกพื้นที่มีทัศนียภาพที่สวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงให้มีการดำเนินกิจกรรมรวมพลังทำ 5ส. ปรับพื้นที่ให้น่าอยู่ พร้อมรับการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือนตลอดทั้งปีมหามงคลนี้ วัตถุประสงค์เพื่อร่วมแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รวมทั้งร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเพื่อเป็นการพัฒนาสถานที่และพัฒนาคนในการส่งเสริมประสิทธิภาพการทํางาน เกิดความคล่องตัว ประหยัดทรัพยากร รวมถึงสร้างความปลอดภัย และสุขอนามัยที่ดีในสถานที่ทำงานและบริเวณรอบนอก นอกจากนี้ ยังเสริมสร้าง ความสามัคคี การร่วมมือร่วมแรง รวมถึงการแบ่งงานกันทำ และการทำงานเป็นทีมให้แก่บุคลากรในสถานที่ทำงานด้วย
17 พ.ค. 2567
จิตอาสาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ครั้งที่ 2) วันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2567
จังหวัดสุพรรณบุรี วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ร่วมกับ สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสุพรรณบุรี และ ร้านเบญญาพานิชย์ จิตอาสาอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันทำ "กิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2567" โดยร่วมกันปลูกต้นไม้บริเวณหน่วยงาน จำนวน 80 ต้น ดังนี้ - ต้นกล้าทองอุไร จำนวน 30 ต้น - ต้นกล้าเหลืองปรีดียาธร จำนวน 10 ต้น - ต้นกล้าขนุนทองประเสริฐ จำนวน 10 ต้น - ต้นกล้าราชพฤกษ์ จำนวน 10 ต้น - ต้นกล้าไผ่ จำนวน 10 ต้น - ต้นกล้าแคนา จำนวน 5 ต้น - ต้นกล้ามะฮอกกานี จำนวน 5 ต้น โดยมีวัตถุประสงค์ปลูกต้นไม้เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อม และเป็นการสร้างและกระตุ้นจิตสำนึกให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและประชาชนได้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของชาติ เป็นการปลูกต้นไม้ในใจคน อีกทั้งช่วยป้องกันและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ลดมลภาวะเป็นพิษจากฝุ่นและหมอกควัน ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ต.ดอนกำยาน อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี
17 พ.ค. 2567
กิจกรรมรวมพลังทำ 5ส. ปรับพื้นที่ให้น่าอยู่ พร้อมรับการปฏิบัติงาน ปี 2567 (ครั้งที่ 4)
จังหวัดสุพรรณบุรี วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 นำทีมเจ้าหน้าที่จิตอาสาภาคประชาชนของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมบูรณาการความร่วมมือกับจังหวัดสุพรรณุบรี ดำเนินกิจกรรมรวมพลังทำ 5ส. ปรับพื้นที่ให้น่าอยู่ พร้อมรับการปฏิบัติงาน Big Cleaning Day โดยร่วมกันดูแลรักษาทำความสะอาดอาคารสถานที่ทำการ และพื้นที่สาธารณะ ได้แก่ เก็บขยะสวนสาธารณะริมถนนมาลัยแมน หมายเลข 321, ตักสิ่งปฏิกูลตามแหล่งน้ำ ณ สระน้ำพุด้านหน้าหน่วยงาน และตัดแต่งไม้ประดับ เพื่อให้ทุกพื้นที่มีทัศนียภาพที่สวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือนตลอดทั้งปีมหามงคลนี้ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการร่วมแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รวมทั้งร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเพื่อเป็นการพัฒนาสถานที่และพัฒนาคนในการส่งเสริมประสิทธิภาพการทํางาน เกิดความคล่องตัว ประหยัดทรัพยากร รวมถึงสร้างความปลอดภัย และสุขอนามัยที่ดีในสถานที่ทำงานและบริเวณรอบนอก นอกจากนี้ ยังเสริมสร้าง ความสามัคคี การร่วมมือร่วมแรง รวมถึงการแบ่งงานกันทำ และการทำงานเป็นทีมให้แก่บุคลากรในสถานที่ทำงานด้วย
01 พ.ค. 2567
ส่งข้อมูลผลการประเมินด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567ให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
จังหวัดสุพรรณบุรี วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567 คณะทำงานคุณธรรมฯ ประกอบด้วย นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค เป็นประธานคณะทำงานคุณธรรม พร้อมด้วย นายพงษ์ธร โพธิน ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ เป็นคณะทำงานและเลขานุการ และนางสาววรางคณา เซ็นชัด ตำแหน่งนักวิิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ เป็นคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าพบนางสาวนิษฐกานต์ คุณวัชระกิจ วัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อส่งข้อมูลผลการประเมินด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามหนังสือ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ที่ อก 0418/60 ลงวันที่ 30 เมษายน 2567 เรื่องขอส่งข้อมูลผลการประเมินองค์กร ระดับคุณธรรมต้นแบบ ณ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรรณบุรี ซึ่งผลการประเมินองค์กร ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ตามเกณฑ์องค์กรคุณธรรม ดังนี้ ตัวชี้วัดที่ 1 องค์กรมีการประกาศเจตนารมณ์ ได้ 3 คะแนน ตัวชี้วัดที่ 2 องค์กรมีการกำหนดเป้าหมาย ได้ 3 คะแนน ตัวชี้วัดที่ 3 องค์กรมีการจัดทำแผน ได้ 3 คะแนน ตัวชี้วัดที่ 4 องค์กรมีผลสำเร็จของการดำเนินงาน 70% ได้ 3 คะแนน ตัวชี้วัดที่ 5 องค์กรมีการประเมินผล ได้ 3 คะแนน ตัวชี้วัดที่ 6 องค์กรมีการยกย่องเชิดชู ได้ 3 คะนน ตัวชี้วัดที่ 7 องค์กรมีผลสำเร็จของการดำเนินงาน 90% ได้ 3 คะนน ตัวชี้วัดที่ 8 องค์กรมีการรวบรวมองค์ความรู้ ได้ 3 คะแนน ตัวชี้วัดที่ 9 องค์กรมีขีดความสามารถในการเผยแพร่ ได้ 3 คะแนน รวมคะแนน 27 คะแนน
01 พ.ค. 2567