หมวดหมู่
ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานให้คำปรึกษาแนะนำกิจกรรมพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต โครงการ 16.1-1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
DIPROM CENTER 8 วันที่ 7 – 9 เมษายน 2566 ******************* นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผอ.ศภ. 8 กสอ. มอบหมายกลุ่มงานพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน นำโดย นายสารบูรณ์ บัวสกัด ผกช.ศภ.8 กสอ. นางสโรชา ทองแผ่ พนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรม นายธงชัย สุขศิริปกรณ์ชัย หัวหน้าหมวดยานยนต์ ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานให้คำปรึกษาแนะนำกิจกรรมพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต โครงการ 16.1-1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อสอบถามความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ และรับฟังปัญหาอุปสรรค/ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา นำเสนองานในด้านบริการต่างๆ ของ ศภ.8 กสอ. ประกอบด้วย - บริการด้านเงินทุนหมุนเวียน - ด้านศูนย์ ITC - ด้านการเตรียมความพร้อม “ยกระดับการผลิตชุมชนด้วยเทคโนโลยีอย่างง่าย สู่ชุมชน” DIPROM ดีพร้อม - เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่ม / หารือวางแนวทางร่วมกัน ที่จะพัฒนาต่อไป โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าติดตามประกอบด้วย พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าข้าวม้าร้อยสี ปรึกษาแนะนำด้านการแปรรูปผลิตภัณ ฑ์โดยนำเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเป็นผืนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่สร้างมูลค่าเพิ่ม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านดอนใหญ่ ปรึกษาแนะนำด้านการทำน้ำพริกแกงเผ็ด พริกแกงส้ม พริกแกงป่า เพื่อนจำหน่ายเป็นสินค้าชุมชน พื้นที่จังหวัดสระบุรี จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลไม้อบแห้ง ให้คำปรึกษาแนะนำการทำคุ๊กกี้มัลเบอร์รี่โดยนำกากที่เหลือจากการผลิตน้ำสมุนไพรมัลเบอรรี่มาแปรรูปเป็นผลิตใหม่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการผลิตพืชผักผลไม้ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการทำโฟมล้างหน้าจากกิ่งมัลเบอร์รี่ และสบู่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองย่างเสือ ให้คำปรึกษาแนะนำการทำตลิงปิงอบแห้ง ตลิงปิงสามรส กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านซับมะกรูด นำ้สมุนไพรตะลิงปลิงบรรจุขวด รสดั้งเดิม รสน้ำผึ้ง รสบ๊วย วิสาหกิจชุมชนผัดหมี่ ไท-ยวน ปรึกษาแนะนำด้านการผลิตขนมวงสูตรมันม่วง วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรแปรรูปสมุนไพรบ้านต้นตาล ปรึกษาแนะด้านการผลิตสูตรขนมกงรสเผือก ผลจากการติดตามความคืบหน้าดังกล่าว วิสาหกิจชุมชนพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สนใจด้านเงินทุนหมุนเวียนเพื่อนำมาลงทุนและต่อยอดภาคการผลิต เนื่องจากการทดลองวางจำหน่ายหลังจากรับบริการ ได้รับการตอบรับจากลูกค้าค่อนข้างดี มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เปอร์เซ็นต์ วิสาหกิจชุมชนพื้นที่จังหวัดสระบุรี สนใจด้านการบริการศูนย์ ITC เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และมีการทดสอบตลาด ยอดจำหน่ายดีมาก ลูกค้าชื่นชอบรสชาติของสูตรที่ปรับใหม่และได้เพิ่มการผลิตแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอในการจำหน่าย ผู้ประกอบการมีความพอใจมากและมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 80 เปอร์เซ็นต์
09 เม.ย. 2566
งบทดลอง ศภ.8 งวดที่ 6 มีนาคม 2566
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน รหัสหน่วยงาน 2204 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมรหัสหน่วยงานเบิกจ่าย 000002200400018ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ประจำงวดที่ 6 ประจำปี 2566
07 เม.ย. 2566
งานรัฐพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์”
วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน2566นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 พร้อมด้วยนางชรินทร์ทิพย์ ตั้งต้นตระกูล,นางสโรชา ทองแผ่ และนางสาวนุชสรา อู่พันธุ์ ได้วางพานพุ่มดอกไม้สด โดยมี นายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด และกล่าวถวายราชสดุดี เนื่องในงานรัฐพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี
06 เม.ย. 2566
ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 มุ่งยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาด้านมาตรฐานสากล และพัฒนาผลิตภัณฑ์
ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 มุ่งยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาด้านมาตรฐานสากล และพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3 - 5 เมษายน 2566 โดยกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม • นายพงษ์ธร โพธิน นวอ.ปก. • น.ส.นิฐิภา ขันอาสา นวอ. • น.ส.วิภาวดี นวมจิตร์ จนท.ปพอ. • นายจักรกฤษณ์ ฟักอินทร์ พขร. เข้าพบผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ สถานประกอบการเพื่อ 1) ประชาสัมพันธ์ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับภูมิภาค : ITC 2) ประชาสัมพันธ์สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 3) ติดตามความก้าวหน้ากิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ และกิจกรรมการยกระดับมาตรฐานเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสู่มาตรฐานระดับสากล จำนวน 7 กิจการดังนี้ 1. บจก.บีอินดี้ คันทรี กรุ๊ป 2. บจก.คอร์สเมติค แลบ 3. บจก.แฮปปี้สยาม 4. บจก.เจอร์นีแมน 5. หจก.มายคาแรนดา 6. บจก.มายด์แอนด์โซล ออริจิน 7. บจก.พี.เอ็น.ฟรุ๊ต โพรเซสซิ่ง แฟคทอรี่ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการทุกรายมีความพึงพอใจมากต่อการให้บริการของดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 และการให้คำแนะนำเชิงลึกของผู้เชี่ยวชาญในกิจกรรมดังกล่าว
05 เม.ย. 2566
DIPROM CENTER 8 จับมือเครือข่าย “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรเทพและตำบลตลาดน้อย” สร้างสุขภาพร่างกาย Happy Body& Happy 8 ให้วิสาหกิจชุมชนรังไหมประดิษฐ์
DIPROM CENTER 8 จับมือเครือข่าย “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรเทพและตำบลตลาดน้อย” สร้างสุขภาพร่างกาย Happy Body & Happy 8 ให้วิสาหกิจชุมชนรังไหมประดิษฐ์ สระบุรี, 5 เมษายน 2566 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมายให้ทีมงาน SHAP AGENT จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายผู้สนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรด้านสุขภาพร่างกาย "Happy Body & Happy 8" แก่วิสาหกิจชุมชนรังไหมประดิษฐ์ ภายใต้กิจกรรมสร้างเครือข่ายหน่วยงานผู้สนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรใน SMEs โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรเทพและตำบลตลาดน้อย มาบรรยาย+Workshop ในหัวข้อ : การดูแลร่างกายในวัยทำงาน วัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานในสถานประกอบการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีความสุขกับการทำงาน และส่งผลให้สถานประกอบการมี Happy Workplace ที่ดีขึ้นหลังการเข้ารับการอบรม ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 15 คน
05 เม.ย. 2566
DIPROM CENTER 8 ลุย สร้างความมั่นคงทางการเงิน จับมือเครือข่าย “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ” ด้วย Happy Money&Happy 8 ให้ชาวสงวนฟาร์ม
DIPROM CENTER 8 ลุย สร้างความมั่นคงทางการเงิน จับมือเครือข่าย “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ” ด้วย Happy Money&Happy 8 ให้ชาวสงวนฟาร์มสระบุรี, 5 เมษายน 2566นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมายให้ทีมงาน SHAP AGENT จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายผู้สนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรด้านการเงิน "Happy Money & Happy 8" แก่สถานประกอบการ: หจก. สงวนฟาร์ม ภายใต้กิจกรรมสร้างเครือข่ายหน่วยงานผู้สนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรใน SMEs โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สนับสนุนวิทยากร ดร.จินดาพร คงเดช, อ.กนกวลี คงสง และคณะ มาบรรยาย+Workshop ในหัวข้อ : การทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ คัมภีร์เศรษฐีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานในสถานประกอบการมีสุขภาพทางการเงินที่ดี มีความสุขกับการทำงาน และส่งผลให้สถานประกอบการมี Happy Workplace ที่ดีขึ้นหลังการเข้ารับการอบรมผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 30 คน
05 เม.ย. 2566
DIPROM CENTER 8 จับมือเครือข่าย “ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 ปทุมธานี” สร้างสุขภาพใจ Happy Heart() & Happy 8 ให้ชาวข้าวแสนดี
DIPROM CENTER 8 จับมือเครือข่าย “ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 ปทุมธานี” สร้างสุขภาพใจ Happy Heart() & Happy 8 ให้ชาวข้าวแสนดี ปทุมธานี, 4 เมษายน 2566 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมายให้ทีมงาน SHAP AGENT จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายผู้สนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรด้านสุขภาพใจ "Happy Heart & Happy 8" แก่สถานประกอบการ: บริษัท ข้าวแสนดี จำกัด ภายใต้กิจกรรมสร้างเครือข่ายหน่วยงานผู้สนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรใน SMEs โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 ปทุมธานี สนับสนุนวิทยากร นางสาวกนกวรรณ ขันเงิน นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ มาบรรยาย+Workshop ในหัวข้อ : สร้างสุขวัยทำงานในสถานประกอบการ 6 Module ได้แก่ Module 1 ฝึกมองโลกในแง่ดี Module 2 ปรับเปลี่ยนความคิด Module 3 ความเข้มแข็งทางใจ Module 4 การสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม Module 5 หลักพักใจในการดำเนินชีวิต Module 6 ความพึงพอใจในสิ่งที่มี วัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานในสถานประกอบการมีสุขภาพใจดี มีความสุขกับการทำงาน และส่งผลให้สถานประกอบการมี Happy Workplace ที่ดีขึ้นหลังการเข้ารับการอบรม ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 25 คน
04 เม.ย. 2566
Diprom Center8 บุกเมืองโอ่ง ร่วมจัดนิทรรศการ เนื่องในงานอุตสาหกรรมแฟร์ ราชบุรี
Diprom Center8 บุกเมืองโอ่ง ร่วมจัดนิทรรศการ เนื่องในงานอุตสาหกรรมแฟร์ ราชบุรี นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมาย นางสาวอุดมรัตน์ วุฒิสาร ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ นายสารบูรณ์ บัวสกัด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่จาก 2 กลุ่มงาน ร่วมจัดนิทรรศการ ให้บริการคำปรึกษาแนะนำการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พร้อมสาธิตกิจกรรม "ฝึกอาชีพดีพร้อม" เนื่องในงานอุตสาหกรรมแฟร์ราชบุรี จัดโดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี โดยได้รับเกียรติจากดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2566 ที่ผ่านมาณ ริมเขื่อนรัฐประชาพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ทั้งนี้คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐเอกชน และประชาชน ร่วมงานอย่างคับคั่ง ทั้งนี้ Diprom Center ( ได้นำการสาธิตการทำขนมโดนัท ทองม้วน-ทองพับ ให้แก่ประชาชนผู้สนใจที่มาชมงาน ได้ทราบเทคนิควิธีการทำขนมเบื้องต้น เป็นการจุดประกายแนวคิดให้สามารถนำไปต่อยอด สร้างอาชีพได้ต่อไป งานอุตสาหกรรมแฟร์ราชบุรี ยังจัดขึ้นต่อเนื่องถึงวันที่ 2 เมษายน 2566 นี้ เวลา 10.30 - 21.30 น. ผู้สนใจ สามารถเยี่ยมชมและพบกับสินค้าดี ราคาถูก สินค้าอุตสาหกรรมราคาโรงงาน สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้าเกษตร มากมาย อาทิ น้ำตาลทราย ไข่ไก่ สินค้านาทีทอง การจับรางวัลผู้มาร่วมงาน พบกัน ณ ริมเขื่อนรัฐประชาพัฒนา ราชบุรี
02 เม.ย. 2566
ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 จัดกิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (AMT) ภายใต้การฝึกอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม(คพอ.ดีพร้อม) รุ่นที่ 398 จังหวัดราชบุรี
ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 จัดกิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (AMT) ภายใต้การฝึกอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม(คพอ.ดีพร้อม) รุ่นที่ 398 จังหวัดราชบุรี จังหวัดราชบุรี : การฝึกอบรมตลอดหลักสูตร ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 18 พฤษภาคม 2566 กิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (AMT) วันที่ 1 - 2 เมษายน 2566 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมายให้นายปรีดี สว่างศรี ตำแหน่งช่างเครื่องมือกล และนายเศรษฐยศ ธีรโฆษิตพงศ์ ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรม ดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (AMT) ภายใต้การฝึกอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ.ดีพร้อม) รุ่นที่ 398 จังหวัดราชบุรี วันที่ 1 - 2 เมษายน 2566 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เป็น Smart SME ที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการในทุกมิติ 2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ SME เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจร่วมกัน มีผู้เข้าอบรม จำนวน 25 คน ณ โรงแรมลองบีช ชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
02 เม.ย. 2566
วันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2566
1 เมษายน วันข้าราชการพลเรือน พระบรมราโชวาท เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี พ.ศ. 2566 "การเป็นข้าราชการนั้น สำคัญที่สุดคือต้องมีความสุจริต กล่าวคือ ต้องทำแต่สิ่งที่ดีที่ถูกต้อง พูดแต่สิ่งที่ดีที่เหมาะสม และคิดแต่สิ่งที่ดีที่เป็นธรรม จึงขอให้ข้าราชการทุกคน ปลูกฝังอบรมคุณธรรมข้อนี้ให้เจริญงอกงาม" ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เข้าร่วมรัฐพิธี วันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2566 กับ จังหวัดสุพรรณบุรี ดังนี้ วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมายให้ นางสาวปิยกุล กรรณสูต ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค พร้อมด้วย นางสาววรพรรณ เปรมธนะ นายปรีดี สว่างศรี และ นางสาวอรสา กอลาพันธ์ ร่วมงานรัฐพีธี เนื่องในงาน “วันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2566” โดยมี นายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธี ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
31 มี.ค. 2566