หมวดหมู่
DIPROM CENTER 8 จับมือผู้ประกอบการ พาคลัสเตอร์ขนมหวาน+ผลิตภัณฑ์อาหารบุกงาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2023
DIPROM CENTER 8 จับมือผู้ประกอบการ พาคลัสเตอร์ขนมหวาน+ผลิตภัณฑ์อาหารบุกงาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2023 23 พฤษภาคม 2566 – นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมายให้ทีมเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค (ITC DIPROM CENTER8) พร้อมเจ้าหน้าที่จากกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม(กธ.ศภ. และ กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ(กบ.ศภ. ติดตามความคืบหน้าของผลการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์ขนม) ประสานงานการทดสอบตลาดของผู้ประกอบการ ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดเตรียมต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาในด้านต่างๆ ผ่านศูนย์ ITC Diprom Center 8 จำนวน 13 ราย เพื่อร่วมจัดแสดง ตลอดจนประสานงานการเจรจาธุรกิจ ให้แก่ผู้ประกอบการภายในงานแสดงสินค้าอาหาร 2566 (THAIFEX – ANUGA ASIA 2023) ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ในงานยังมีการจัดงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย ที่มีศักยภาพ มีการแสดงเทคโนโลยีการผลิตสินค้าอาหารและบริการต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารของไทย เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการจัดงานแสดงสินค้าอาหารระดับนานาชาติ ภายในงาน ยังมีโซนกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ โซนอุตสาหกรรมกาแฟครบวงจร Experience world coffee โซนเปิดประสบการณ์อาหารแห่งอนาคต Future Food Experience โดยเจ้าหน้าที่ศภ.8 กสอ. ได้ร่วมเสนอความคิดเห็นและถ่ายทอดประสบการณ์กับคณะผู้จัดงานจาก Tastebud Lab อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการที่มีเทคโนโลยีการผลิตอาหารที่น่าสนใจ อาทิ แบรนด์ นัทเดิ้ล NUTDLES ผลิตเส้นอัลมอนด์ ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล Low-Carb ซึ่งเป็นเส้นที่มีโปรตีน (contractile protein) แบรนด์Al’Fez ผู้ผลิตซอส น้ำสลัด ส่วนผสมของเครื่องเทศ เหมาะสำหรับผู้ทานมังสวิรัติ และอาหารแห่งอนาคต งาน THAIFEX - ANUGA ASIA 2023 ยังมีจัดแสดงต่อเนื่องถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2566 นี้ ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ทาง www.thaifex-anuga.com
23 พ.ค. 2566
การขับเคลื่อนแผนการดำเนินการเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2566
การขับเคลื่อนแผนดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2566 วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ประธานในที่ประชุมหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 5/2566 ประจำเดือนพฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมประกายแดง ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยในระเบียบวาระการประชุมที่ 5.2 ประเมินความพึงพอใจ การจัดกิจกรรมด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นั้น นางสาวปิยกุล กรรณสูต ประธานคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้แจ้งแผนการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในเดือนมิถุนายน 2566 กำหนดการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรในหน่วยงาน ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ 1. เว็บไซต์ของหน่วยงาน "ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8" 2. การบรรยายให้ความรู้ในที่ประชุมของหน่วยงานประจำเดือน โดยกำหนดการประชุม ครั้งที่ 6/2566 ประจำเดือนมิถุนายน 2566 ในวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องปรุะชุมประกายแดง ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสหากรรม ซึ่งจะมีการให้ความรู้ 2 วิชา ดังนี้ 2.1 วิชาที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม โดย นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่งนักวิชาการอุตสหากรรมปฏิบัติการ 2.2 วิชาที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต โดย นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ ทั้งนี้ แผนการบรรยายให้ความรู้ในที่ประชุมของหน่วยงานประจำเดือนกรกฎาคม 2566 ซึ่งจะมีการให้ความรู้ 2 วิชา ดังนี้ 2.3 วิชาที่ 3 การประยุกต์หลักความพอเพียงด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต 2.4 วิชาที่ 4 บทบาทและหน้าที่ของวิทยากร โดยการประชุมหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสหากรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ จำนวน 31 คน
18 พ.ค. 2566
การขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เดือนพฤษภาคม 2566
ขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2566 วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ประธานในที่ประชุมหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 5/2566 ประจำเดือนพฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมประกายแดง ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยในระเบียบวาระการประชุมที่ 5.2 ประเมินความพึงพอใจ การจัดกิจกรรมด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นั้น นางสาวปิยกุล กรรณสูต ประธานคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในเดือนพฤษภาคม 2566 โดยได้แจ้งขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ในการตอบแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมฯ ผ่าน Google Forme (เครื่องมือสร้างแบบฟอร์มออนไลน์) ซึ่งกิจกรรมที่จะดำเนินการในเดือนพฤษภาคม 2566 ได้แก่ 1. กิจกรรมประเมินความพึงพอเใจในการจัดกิจกรรมด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของหน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลในหน่วยงานได้ออกความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสหากรรมว่ามีความพึงพอใจในระดับใด มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย หรือ น้อยที่สุด และได้เสนอแนะคิดความเห็นเพื่อนำข้อมูลไปจัดทำข้อมูล "การถอดบทเรียนกิจกรรมต่าง ๆ " และเพื่อปรับปรุงการกำหนดแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อไป ทั้งนี้ คณะทำงานจะส่งแบบประเมิน Google Forme ให้ทางกลุ่ม line GCC3_อก_กสอ_ศภ.8 ของหน่วยงาน ภายในเดือนพฤษภาคม 2566 ต่อไป 2. กิจกรรมการถอดบทเรียน โดยการนำข้อมูลการประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม มาประกอบการจัดทำข้อมูล การถอดบทเรียน รายกิจกรรม โดยทีมคณะทำงานคุณธรรมฯ มีการแบ่งงานผู้รับผิดชอบจัดทำข้อมูลถอดบทเรียน คนละ 2 กิจกรรม 3. กิจกรรมจัดทำรายงาน โดยทีมคณะทำงานคุณธรรม จะดำเนินการรวบรวมข้อมูลเอกสารถอดบทเรียน และจัดทำข้อมูลในแบบรายงานรอบ 9 เดือนส่งกรมส่งเสริมอุตสหากรรมภายในกำหนดต่อไป โดยการประชุมหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสหากรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ จำนวน 31 คน
18 พ.ค. 2566
วิชาที่ 4 บทบาทและหน้าที่ของวิทยากร
วิชาที่ 4 บทบาทและหน้าที่ของวิทยากร จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. ระบุบทบาทและหน้าที่ของวิทยากรได้ 2. อธิบายเทคนิคการเป็นวิทยากรที่ดีได้ (ก่อน-ระหว่าง-หลัง การบรรยาย) เจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ 2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ วิทยากร คือ ผู้ทำหน้าที่เป็นตัวการที่จะทำให้ผู้รับการอบรมเกิดการเรียนรู้ และสามารถจุดประกายความคิด เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ของหัวเรื่องหรือวิชานั้น ๆ โดยวิทยากรจะต้องเป็นบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถ ตลอดจนการพูดหรือนำเสนอและใช้เทคนิคต่าง ๆ ในเรื่องนั้น ๆ จนสามารถทำให้ผู้รับการฝึกอบรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ1. บทบาทหน้าที่ของวิทยากร 1. เป็นผู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ 2. เป็นผู้ฝึก 3. เป็นพี่เลี้ยง 4. เป็นผู้สอน 5. เป็นผู้บรรยาย 2. เทคนิคการเป็นวิทยากรที่ดี ก่อน : เตรียมตัว 1. ประสานงานกับผู้จัด ขอข้อมูล ได้แก่ หลักสูตร กลุ่มผู้เข้าอบรม เอกสารประกอบ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ 2. เขียนแผนการฝึกอบรม เพื่อเป็นแนวทางว่าจะถ่ายทอด ใช้สื่อ เทคนิคอย่างไร ให้เหมาะสมกับผู้อบรม 3. เตรียมอุปกรณ์ สื่อต่าง ๆ เช่น ไฟล์นำเสนอ กระดาษ ระหว่าง : ตรวจสอบสถานที่อบรมและอุปกรณ์ต่าง ๆ สอบถามข้อมูลต่าง ๆ เช่น บรรยากาศในการฝึกอบรม ใครเป็นผู้นำกลุ่ม วิทยากรคนก่อน ๆ พูดเกี่ยวกับอะไร 1. ความสามารถในการถ่ายทอด เทคนิค และใช้สื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ 2. เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิด คอยกระตุ้นให้ผู้อบรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น ชี้แนะ สรุปประเด็น และนำเสนอแนวทางที่เหมาะสม 3. สร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ทั้งด้านกายภาพ(อุปกรณ์ สื่อ) และด้านจิตภาพ(ผู้อบรมสนใจที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา) หลัง : ติดตามผลการประเมินฝึกอบรม เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาตนในครั้งต่อไป 1. ประเมินผลอบรม จากการสังเกตุและขอข้อมูลจากผู้จัด เพื่อทราบผลการปฏิบัติงานของตน และนำไปปรับปรุง 2. ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น มอบวุฒิบััตร เลี้ยงสังสรรค์กับผู้อบรม 3. ติดตามผลอบรมของผู้อบรมว่า นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใด พร้อมให้คำแนะนำต่อ บันได 13 ขั้นสู่ความสำเร็จในการเป็นวิทยากร เตรียมให้พร้อม ซักซ้อมให้ดี ท่าทีสง่า หน้าตาให้สุขุม เริ่มต้นให้โน้มน้าว ทักที่ประชุมไม่วกวน เรื่องราวให้กระชับ ตาจับที่ผู้ฟัง เสียงดังพอดี อย่างมีเอ้อ่า ดูเวลาให้พอครบ สรุปจบให้จับใจ ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดการพูด
12 พ.ค. 2566
กิจกรรมจูงมือเข้าวัด (ครั้งที่ 3 : วัดดงกะเชา จังหวัดสุพรรณบุรี)
กิจกรรมจูงมือเข้าวัด (ครั้งที่ 3 : วัดดงกะเชา จังหวัดสุพรรณบุรี) นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 พร้อมผู้อำนวยการกลุ่ม และเจ้าหน้าที่ในสังกัด เข้าร่วมกิจกรรม "เข้าวัด ทำวัตร พฤหัสบดี" ในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2566 เวลา 17.00 น. ณ วัดดงกะเชา ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธี นำทำวัตรเย็น เจริญพระพุทธมนต์ เจริญบทถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญบทถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เจริญจิตตภาวนา เจริญบทแผ่เมตตา ถวายพุ่มผ้าป่า ถวายจตุปัจจัยแด่ประธานสงฆ์ กิจกรรมในครั้งนี้ หน่วยงานรับเป็นเจ้าภาพ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 และ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดสุพรรณบุรี จัดโดย สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุพรรณบุรี ตามนโยบายจังหวัดสุพรรณบุรี และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นองค์กรคุณธรรม "พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา" มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะส่งเสริมและพัฒนาบ้าน วัด ราชการ ด้วยกิจกรรมเข้าวัด ทำวัตร สวดมนต์ ณ วัดที่เป็นศูนย์กลางและมีความพร้อมด้านสถานที่ เสนาสนะ และอื่น ๆ ในแต่ละอำเภอตามความเหมาะสม ทุกวันพฤหัสบดี
11 พ.ค. 2566
วิชาที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
วิชาที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายรูปแบบของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม 10 รูปแบบได้ 2. แสดงตัวอย่างการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้ 3. อธิบายการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาได้ 4. อธิบายแนวทางปฏิบัติในการให้ของขวัญและรับของขวัญของเจ้าหน้าที่รัฐได้ เจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ 2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ เรื่อง รูปแบบของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม 10 รูปแบบ พร้อมตัวอย่าง ดังนี้ การรับผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ รับของขวัญจากบริษัทเอกชนที่ช่วยให้บริษัทชนะการประมูลรับงานโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ การทำธุรกิจกับตนเองหรือคู่สัญญา เช่น ผู้บริหารของหน่วยงาน ทำสัญญาจ้างบริษัทที่ภรรยาของตนเป็นเจ้าของ มาเป็นที่ปรึกษาของหน่วยงาน การทำงานหลังจากออกจากตำแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ (นับตั้งแต่พ้นจากตำแหน่งไม่เกิน 2 ปี) เช่น เจ้าหน้าที่ขององค์กรด้านเวชภัณฑ์และสุขภาพ ออกจากราชการไปทำงานในบริษัทผลิตหรือขายยา การทำงานพิเศษ เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน แต่เอาเวลาไปรับงานพิเศษที่นอกเหนือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน การรู้ข้อมูลภายใน เช่น เจ้าหน้าที่พัสดุเปิดเผยข้อมูลของฝ่ายที่มายื่นประมูลไว้ก่อนหน้า ให้แก่ผู้ประมูลรายอื่นที่ให้ผลประโยชน์ ทำให้ฝ่ายที่มายื่นประมูลก่อนเสียเปรียบ การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตน เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้มีอำนาจอนุมัติให้ใช้รถราชการ นำรถยนต์ราชการไปใช้ในกิจส่วนตัว การนำโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ในทางการเมือง เช่น นักการเมืองในจังหวัด ขอเพิ่มงบประมาณเพื่อนำโครงการสร้างสะพานลงในจังหวัดโดยใช้ชื่อสกุลของตนเป็นชื่อสะพาน การใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แก่เครือญาติ เช่น พนักงานสอบสวนละเว้นไม่นำบันทึกการจับกุมที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมทำขึ้นในวันเกิดเหตุรวมเข้าสำนวย แต่กลับเปลี่ยนบันทึำและแก้ไขข้อหาในบันทึก เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาซึ่งเป็นญาติให้รับโทษน้อยลง การใช้อิทธิพลเข้าไปมีผลต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐอื่น เช่น เจ้าหน้าที่รัฐใช้ตำแหน่งเข้าแทรกแซงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย การขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมประเภทอื่น เช่น เจ้าหน้าที่รัฐลงเวลาปฏิบัติงานนอกเวลา โดยมิอยู่ปฏิบัติงานจริงเรื่อง การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา1. จากญาติให้โดยเสน่หา2. จากมิใช่ญาติ ไม่เกิน 3,000 บาท3. ลักษณะการให้กับบุคคลทั่วไปเรื่อง แนวทางปฏิบัติในการให้ของขวัญและรับของขวัญของเจ้าหน้าที่รัฐ1. เจ้าหน้าที่รัฐ จะให้ของขวัญแก่ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลในครอบครัวของผู้บังคับบัญชา นอกเหนือจากกรณีปกติประเพณีนิยมที่มีการให้ของขวัญ แก่กันมิได้2. ผู้บังคับบัญชาจะยินยอมให้บุคคลในครอบครัวรับของขวัญจากผู้อยู่ในบังคับบัญชา มิได้3. เจ้าหน้าที่ จะยอมให้บุคคลในครอบครัวรับของจากผู้เกี่ยวข้องการทำงานมิได้4. ยอมให้บุคคลในครอบครัวรับได้ตามประเพณีนิยม ราคาไม่เกิน 3,000 บาท5. ถ้าคนในครอบครัวรับ ให้เจ้าหน้าที่รัฐรายงานผู้บังคับบัญชาทันที6. ให้ใช้บัตรอวยพร ลงนามสมุดอวยพร บัตรแสดงความเสียใจ แทน
10 พ.ค. 2566
งบทดลอง ศภ.8 งวดที่ 7 เมษายน 2566
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน รหัสหน่วยงาน 2204 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมรหัสหน่วยงานเบิกจ่าย 000002200400018ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ประจำงวดที่ 7 ประจำปี 2566
08 พ.ค. 2566
ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 (DIPROM CENTER ???? ร่วมจัดกิจกรรมและออกหน่วยบริการประชาชนให้บริการตามโครงการปฏิบัติราชการเพื่อให้บริการแก่ประชาชน (จังหวัดเคลื่อนที่)
ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 (DIPROM CENTER ร่วมจัดกิจกรรมและออกหน่วยบริการประชาชนให้บริการตามโครงการปฏิบัติราชการเพื่อให้บริการแก่ประชาชน (จังหวัดเคลื่อนที่) สุพรรณบุรี : วันศุกร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๘ มอบหมายให้ นายสารบูรณ์ บัวสกัด ผกช.ศภ.๘ กสอ. และคณะ ร่วมจัดกิจกรรมและออกหน่วยบริการประชาชนให้บริการปรึกษาแนะด้านต่างๆ เช่น เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรม การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ชุมชนดีพร้อม การพัฒนาด้านการตลาดชุมชนดีพร้อมของ ศภ.๘ กสอ. ตามโครงการปฏิบัติราชการเพื่อให้บริการแก่ประชาชน (จังหวัดเคลื่อนที่) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ โดยมี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานพิธีฯ พร้อมด้วยนายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ฝ่ายปกครองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมจัดกิจกรรมและออกหน่วยบริการประชาชนเพื่อตอบสนองความต้องการที่มีความยากลำบากในการเข้าถึงบริการหน่วยงานภาครัฐ พร้อมทั้งได้มอบเครื่องอุปโภคบริโภคถุงยังชีพให้ราษฎร์ผู้ยากจน ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ณ วัดบวรศิริธรรม หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี คณะร่วมจัดกิจกรรมประกอบด้วย ๑.นางสาวสุนทรี หยุยพันธุ์ ๒.นางสาวจิรฐา สนธิศรี ๓.นายอนุรักษ์ สุขรี่
21 เม.ย. 2566
กิจกรรมเสืบสานวัฒนธรรมเทศกาลสงกรานต์
กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมเทศกาลสงกรานต์ วัตถุประสงค์ : เพื่อให้บุคคลในหน่วยงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณี ค่านิยมอันดีงามของหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสหากรรม ตัวชี้วัด : จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีวัตฒนธรรมของหน่วยงาน ผู้รับผิดชอบ : กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค และ คณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ตามคำสั่ง ศภ.8 กสอ. ที่ 1/2566 สั่ง ณ วันที่ 19 มกราคม 2566 ก่อนการดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชื่อคุณธรรมเป้าหมายด้านสืบสานวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม กิจกรรมลำดับที่ 4.7 กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมเทศกาลสงกรานต์ นั้น สงกรานต์ คือ ประเพณีของประเทศไทย สงกรานต์ เป็นคำในภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง การเคลื่อนย้าย โดยเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายการประทับในจักรราศี หรือการเคลื่อนเข้าสู่ปีใหม่ตามความเชื่อของไทย ประเพณีสงกรานต์นั้นมีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงมักเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ วันที่ 13 – 15 เมษายน ซึ่งชาวดีพร้อม 8 ได้อนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามนี้สืบต่อกันมา ระหว่างดำเนินการ วันพุธที่ 12 เมษายน 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรมสืบสานวิถีวัฒนธรรมเทศกาลสงกรานต์ ประกอบด้วย 1. การรักษาอัตลักษณ์ความเป็นไทยในประเพณีสงกรานต์ ด้วยการแต่งกายด้วยเสื้อลายดอก 2. การสืบสานประเพณีที่ดีงาม สรงน้ำพระพุทธรูป 3. การสืบสานคุณค่าและสิ่งที่ควรทำของประเพณีสงกรานต์ ด้วยการรดน้ำดำหัวและขอพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 และผู้สูงอายุ จำนวน 3 ท่าน ดังนี้ 3.1 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 3.2 นางอุดมรัตน์ วุฒิสาร ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ (ผู้เกษียณอายุราชการ ปี 2566) 3.3 นายธงชัย สุขศิริปกรณ์ชัย พนักงานขับรถยต์ ส2/หัวหน้า (ผู้เกษียณอายุราชการ ปี 2566) ณ ห้องโถง อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หลังดำเนินการ บุคลากรของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสหากรรม ได้ร่วมกันสืบสานวิถีวัฒนธรรมเทศกาลสงกรานต์สืบทอดต่อไปและได้รับพรอันประเสริฐจากพระพุทธ และผู้อำนวยการและผู้อาวุโส ซึ่งผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดคือ มีการจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมของหน่วยงาน
12 เม.ย. 2566
DIPROM CENTER 8 ลุย สร้างความมั่นคงทางการเงิน จับมือเครือข่าย “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ” ด้วย Happy Money&Happy 8 ให้กับ บริษัท ทิพย์เกสร เฮิร์บ แอนด์ เฮลท์ จำกัด
DIPROM CENTER 8 ลุย สร้างความมั่นคงทางการเงิน จับมือเครือข่าย “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ” ด้วย Happy Money&Happy 8 ให้กับ บริษัท ทิพย์เกสร เฮิร์บ แอนด์ เฮลท์ จำกัด สุพรรณบุรี 11 เมษายน 2566 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมายให้ทีมงาน SHAP AGENT จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายผู้สนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรด้านการเงิน "Happy Money & Happy 8" แก่สถานประกอบการ: บริษัท ทิพย์เกสร เฮิร์บ แอนด์ เฮลท์ จำกัด ภายใต้กิจกรรมสร้างเครือข่ายหน่วยงานผู้สนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรใน SMEs โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สนับสนุนวิทยากร ดร.จินดาพร คงเดช, อ.กนกวลี คงสง และคณะ มาบรรยาย+Workshop ในหัวข้อ : การทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ คัมภีร์เศรษฐี วัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานในสถานประกอบการมีสุขภาพทางการเงินที่ดี มีความสุขกับการทำงาน และส่งผลให้สถานประกอบการมี Happy Workplace ที่ดีขึ้นหลังการเข้ารับการอบรม ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 21 คน
11 เม.ย. 2566