วิชาที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
วิชาที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความแตกต่างระหว่างการทุจริตโดยข้าราชการและการทุจริตโดยนักการเมืองได้ 2. อธิบายการทุจริต 3 ประเภท
เจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้
1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ
2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ
เรื่อง รูปแบบการทุจริต ปัญหาการทุจริต เป็นปัญหาที่สำคัญของไทย ทำกันหลายฝ่าย นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และ ภาคเอกชน ประกอบด้วย ผู้ให้ประโยชน์ ได้แก่ ภาคเอกชน และ ผู้รับประโยชน์ ได้แก่ นักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ ให้ทำหรือไม่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้ให้ร้องขอ
1. ความแตกต่างระหว่างการทุจริตโดยข้าราชการและการทุจริตโดยนักการเมือง
⇒ การทุจริตโดยข้าราชการ หมายถึง การกระทำที่มีการใช้หน่วยงานราชการเพื่อมุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากการปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้น ๆ มากกว่าประโยชน์์ส่วนรวมของสังคมหรือประเทศ มี 2 ประเภท ดังนี้
1. การคอร์รัปชันตามน้ำ เกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องการสินบน โดยให้มีการจ่ายตามช่องทางของทางราชการ แต่ให้เพิ่มสินบนรวมเข้าไว้กับการจ่ายค่าบริการของหน่วยงานนั้น ๆ โดยที่เงินค่าบริการปกติที่หน่วยงานนั้นจะต้องได้รับก็ยังคงได้รับต่อไป เช่น การจ่ายเงินพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ในการออกเอกสารต่าง ๆ นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมปกติที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว เป็นต้น
2. การคอร์รัปชันทวนน้ำ เป็นการคอร์รัปชันในลักษณะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเรียกร้องเงินจากผู้ขอรับบริการโดยตรง โดยที่หน่วยงานนั้นไม่ได้มีการเรียกเก็บเงินค่าบริการแต่อย่างใด เช่น ในการออกเอกสารของหน่วยงานราชการไม่ได้มีการกำหนดให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ในกรณีนี้มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้มาใช้บริการของหน่วยงานของรัฐ
⇒ การทุจริตโดยนักการเมือง : เป็นการใช้หน่วยงานของทางราชการโดยบรรดานักการเมือง เพื่อมุ่งแสงหาผลประโยชน์ในทางการเงินมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของสังคมหรือประเทศ รูปแบบหรือวิธีการทั้่วไป จะมีลักษณะเช่นเกียวกับการทุจริตโดยข้าราชการ แต่จะเป็นในระดับที่สูงกว่า เช่นการประมูลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ มีการเรียกรับ ยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ต่าง ๆ จากภาคเอกชน เป็นต้น ตัวอย่าง ทุจริตโครงการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง รัฐสูญเงิน 1,192.2 ล้านบาท, ทุจริตโครงการโรงงานบำบัดน้ำเสีย รัฐสูญเงิน 23,701 ล้านบาท, ทุจริตการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข รัฐสูญเงิน 181 ล้านบาท
1. เกิดจากการใช้อำนาจในการกำหนดกฎ กติกา พื้นฐาน เช่น การออกกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจของตนหรือพวกพ้อง
2. เกิดจากการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากฎและระเบียบที่ดำรงอยู่ ซึ่งมักจะเกิดจากความไม่ชัดเจนของกฎและระเบียบเหล่านั้น ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ใช้ความคิดเห็นของตนได้ และการใช้ความคิดเห็นนั้นอาจไม่ถูกต้อง หากมีการใช้ไนทางที่ผิดหรือไม่ยุติธรรมได้
2. การทุจริต 3 ประเภท
1. แบ่งตามผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 ประเภทคือ
1.1 ทุจริตโดยข้าราชการ
1.2 ทุจริตโดยนักการเมือง
2. แบ่งตามกระบวนการที่ใช้
3. แบ่งตามลักษณะรูปธรรม
องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (IT : Transparency Inter National) ปี 2564 ไทยได้คะแนน 35/100 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 110/180 ของประเทศทั่วโลก และอยู่ในอันดับที่ 5/9 ของประเทศภูมิภาคอาเซียน ด้วย 10 ประเด็น ดังนี้
1. ติดสินบน
2. ใช้งบประมาณแผ่นดิน
3. เจ้าหน้าที่รัฐใช้หน่วยงานรัฐเพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยไม่มีความผิด
4. ความยุ่งยากของระบบราชการที่เอื้อให้เกิดการทุจริต
5. ระบบราชการเป็นระบบคุณธรรมหรืออุปถัมภ์
6. การดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้ทุจริต
7. กฎหมายและงบประมาณที่เอื้อต่อการจับกุมผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อน
8. กฎหมายคุ้มครองผู้เปิดเผยหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต
9. การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
10. การเข้าถึงข้อมูลภาครัฐ
ประเทศไทยมีการแก้ไขแล้วปัญหาลดลง ได้แก่
1. รับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
2. การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวม
ปัญหาที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1. เจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมใช้หน้าที่ในมิชอบ
2. การสร้างการรับรู้ว่าการทุจริตยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
3. ภาคธุรกิจยังคงมีการจ่ายเงินสินบนในกระบวนการต่าง ๆ
4. ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
29
มี.ค.
2023