วิชาที่ 4 บทบาทและหน้าที่ของวิทยากร
วิชาที่ 4 บทบาทและหน้าที่ของวิทยากร
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุบทบาทและหน้าที่ของวิทยากรได้
2. อธิบายเทคนิคการเป็นวิทยากรที่ดีได้ (ก่อน-ระหว่าง-หลัง การบรรยาย)
เจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้
1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ
2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ
วิทยากร คือ ผู้ทำหน้าที่เป็นตัวการที่จะทำให้ผู้รับการอบรมเกิดการเรียนรู้ และสามารถจุดประกายความคิด เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ของหัวเรื่องหรือวิชานั้น ๆ โดยวิทยากรจะต้องเป็นบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถ ตลอดจนการพูดหรือนำเสนอและใช้เทคนิคต่าง ๆ ในเรื่องนั้น ๆ จนสามารถทำให้ผู้รับการฝึกอบรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
1. บทบาทหน้าที่ของวิทยากร
1. เป็นผู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้
2. เป็นผู้ฝึก
3. เป็นพี่เลี้ยง
4. เป็นผู้สอน
5. เป็นผู้บรรยาย
2. เทคนิคการเป็นวิทยากรที่ดี
ก่อน : เตรียมตัว
1. ประสานงานกับผู้จัด ขอข้อมูล ได้แก่ หลักสูตร กลุ่มผู้เข้าอบรม เอกสารประกอบ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
2. เขียนแผนการฝึกอบรม เพื่อเป็นแนวทางว่าจะถ่ายทอด ใช้สื่อ เทคนิคอย่างไร ให้เหมาะสมกับผู้อบรม
3. เตรียมอุปกรณ์ สื่อต่าง ๆ เช่น ไฟล์นำเสนอ กระดาษ
ระหว่าง : ตรวจสอบสถานที่อบรมและอุปกรณ์ต่าง ๆ สอบถามข้อมูลต่าง ๆ เช่น บรรยากาศในการฝึกอบรม ใครเป็นผู้นำกลุ่ม วิทยากรคนก่อน ๆ พูดเกี่ยวกับอะไร
1. ความสามารถในการถ่ายทอด เทคนิค และใช้สื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์
2. เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิด คอยกระตุ้นให้ผู้อบรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น ชี้แนะ สรุปประเด็น และนำเสนอแนวทางที่เหมาะสม
3. สร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ทั้งด้านกายภาพ(อุปกรณ์ สื่อ) และด้านจิตภาพ(ผู้อบรมสนใจที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา)
หลัง : ติดตามผลการประเมินฝึกอบรม เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาตนในครั้งต่อไป
1. ประเมินผลอบรม จากการสังเกตุและขอข้อมูลจากผู้จัด เพื่อทราบผลการปฏิบัติงานของตน และนำไปปรับปรุง
2. ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น มอบวุฒิบััตร เลี้ยงสังสรรค์กับผู้อบรม
3. ติดตามผลอบรมของผู้อบรมว่า นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใด พร้อมให้คำแนะนำต่อ
บันได 13 ขั้นสู่ความสำเร็จในการเป็นวิทยากร
เตรียมให้พร้อม ซักซ้อมให้ดี ท่าทีสง่า หน้าตาให้สุขุม เริ่มต้นให้โน้มน้าว ทักที่ประชุมไม่วกวน เรื่องราวให้กระชับ ตาจับที่ผู้ฟัง เสียงดังพอดี อย่างมีเอ้อ่า ดูเวลาให้พอครบ สรุปจบให้จับใจ ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดการพูด