Category
งานรัฐพิธี “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า" และงาน “วันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2566”
วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมายให้ นางสาวปิยกุล กรรณสูต ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค พร้อมด้วย นางสาววรพรรณ เปรมธนะ, นายปรีดี สว่างศรี และ นางสาวอรสา กอลาพันธ์ วางพานพุ่มดอกไม้สด โดยมี นายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด และกล่าวถวายราชสดุดี เนื่องในงานรัฐพิธี “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า" และงาน “วันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2566” ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี
31 มี.ค. 2023
วิชาที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
วิชาที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความแตกต่างระหว่างการทุจริตโดยข้าราชการและการทุจริตโดยนักการเมืองได้ 2. อธิบายการทุจริต 3 ประเภท เจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ 2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ เรื่อง รูปแบบการทุจริต ปัญหาการทุจริต เป็นปัญหาที่สำคัญของไทย ทำกันหลายฝ่าย นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และ ภาคเอกชน ประกอบด้วย ผู้ให้ประโยชน์ ได้แก่ ภาคเอกชน และ ผู้รับประโยชน์ ได้แก่ นักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ ให้ทำหรือไม่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้ให้ร้องขอ 1. ความแตกต่างระหว่างการทุจริตโดยข้าราชการและการทุจริตโดยนักการเมือง ⇒ การทุจริตโดยข้าราชการ หมายถึง การกระทำที่มีการใช้หน่วยงานราชการเพื่อมุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากการปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้น ๆ มากกว่าประโยชน์์ส่วนรวมของสังคมหรือประเทศ มี 2 ประเภท ดังนี้ 1. การคอร์รัปชันตามน้ำ เกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องการสินบน โดยให้มีการจ่ายตามช่องทางของทางราชการ แต่ให้เพิ่มสินบนรวมเข้าไว้กับการจ่ายค่าบริการของหน่วยงานนั้น ๆ โดยที่เงินค่าบริการปกติที่หน่วยงานนั้นจะต้องได้รับก็ยังคงได้รับต่อไป เช่น การจ่ายเงินพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ในการออกเอกสารต่าง ๆ นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมปกติที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว เป็นต้น 2. การคอร์รัปชันทวนน้ำ เป็นการคอร์รัปชันในลักษณะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเรียกร้องเงินจากผู้ขอรับบริการโดยตรง โดยที่หน่วยงานนั้นไม่ได้มีการเรียกเก็บเงินค่าบริการแต่อย่างใด เช่น ในการออกเอกสารของหน่วยงานราชการไม่ได้มีการกำหนดให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ในกรณีนี้มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้มาใช้บริการของหน่วยงานของรัฐ ⇒ การทุจริตโดยนักการเมือง : เป็นการใช้หน่วยงานของทางราชการโดยบรรดานักการเมือง เพื่อมุ่งแสงหาผลประโยชน์ในทางการเงินมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของสังคมหรือประเทศ รูปแบบหรือวิธีการทั้่วไป จะมีลักษณะเช่นเกียวกับการทุจริตโดยข้าราชการ แต่จะเป็นในระดับที่สูงกว่า เช่นการประมูลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ มีการเรียกรับ ยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ต่าง ๆ จากภาคเอกชน เป็นต้น ตัวอย่าง ทุจริตโครงการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง รัฐสูญเงิน 1,192.2 ล้านบาท, ทุจริตโครงการโรงงานบำบัดน้ำเสีย รัฐสูญเงิน 23,701 ล้านบาท, ทุจริตการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข รัฐสูญเงิน 181 ล้านบาท 1. เกิดจากการใช้อำนาจในการกำหนดกฎ กติกา พื้นฐาน เช่น การออกกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจของตนหรือพวกพ้อง 2. เกิดจากการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากฎและระเบียบที่ดำรงอยู่ ซึ่งมักจะเกิดจากความไม่ชัดเจนของกฎและระเบียบเหล่านั้น ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ใช้ความคิดเห็นของตนได้ และการใช้ความคิดเห็นนั้นอาจไม่ถูกต้อง หากมีการใช้ไนทางที่ผิดหรือไม่ยุติธรรมได้ 2. การทุจริต 3 ประเภท 1. แบ่งตามผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 ประเภทคือ 1.1 ทุจริตโดยข้าราชการ 1.2 ทุจริตโดยนักการเมือง 2. แบ่งตามกระบวนการที่ใช้ 3. แบ่งตามลักษณะรูปธรรม องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (IT : Transparency Inter National) ปี 2564 ไทยได้คะแนน 35/100 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 110/180 ของประเทศทั่วโลก และอยู่ในอันดับที่ 5/9 ของประเทศภูมิภาคอาเซียน ด้วย 10 ประเด็น ดังนี้ 1. ติดสินบน 2. ใช้งบประมาณแผ่นดิน 3. เจ้าหน้าที่รัฐใช้หน่วยงานรัฐเพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยไม่มีความผิด 4. ความยุ่งยากของระบบราชการที่เอื้อให้เกิดการทุจริต 5. ระบบราชการเป็นระบบคุณธรรมหรืออุปถัมภ์ 6. การดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้ทุจริต 7. กฎหมายและงบประมาณที่เอื้อต่อการจับกุมผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อน 8. กฎหมายคุ้มครองผู้เปิดเผยหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต 9. การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ 10. การเข้าถึงข้อมูลภาครัฐ ประเทศไทยมีการแก้ไขแล้วปัญหาลดลง ได้แก่ 1. รับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ 2. การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวม ปัญหาที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน 1. เจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมใช้หน้าที่ในมิชอบ 2. การสร้างการรับรู้ว่าการทุจริตยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง 3. ภาคธุรกิจยังคงมีการจ่ายเงินสินบนในกระบวนการต่าง ๆ 4. ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
29 มี.ค. 2023
วิชาที่ 3 การประยุกต์หลักความพอเพียงด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
วิชาที่ 3 การประยุกต์หลักความพอเพียงด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความหมายและความสำคัญของโมเดล STRONG ได้ 2. แสดงตัวอย่างการปฏิบัติตนตามโมเดล STRONG ได้ เจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ 2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ 1. ความหมายและความสำคัญของโมเดล STRONG STRONG จิตพอเพียง ต้านทุจริต หลักการเพื่อการดำเนินชีวิตและพัฒนาประเทศ S Sutficient ความพอเพียง ใช้เงินเท่าที่มี ซื้อของตามฐานะ จึงไม่มีหนี้ T Transparent ความโปร่งใส ของใช้ส่วนตัวทุกชิ้นสามารถบอกได้ว่าได้มาอย่างไร R Realise ตื่นรู้ เมื่อได้รู้ข่าวว่าการโกง การทุจริต จะหาข้อมูลเชิงลึกว่าเกิดขึ้นอย่างไร สาเหตุมาจากไหน O Onward มุ่งไปข้างหน้า ตั้งใจเรียน ศึกษาหาความรู้รอบตัวเพิ่มขึ้น หาความชอบของตนและพัฒนาให้ดีขึ้น N Knowledge ความรู้ ศึกษาหาความรู้ข้อเท็จจริงแทนการฟังแล้วเชื่อทันที G Generosit เอื้ออาทร มีน้ำใจและอ่อนโยนกับคนรอบข้างเสมอ S : น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิพอเพียงมาปรับประยุกต์ เพื่อเป็นหลักความพอเพียงในการทำงานและการดำรงชีวิต การพัฒนาตนเองและส่วนรวม รวมถึงการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน T : ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชน ต้องปฏิบัติงานบนฐานของความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ดังนั้นจึงต้องมีและปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ ระเบียบ ข้อปฏิบัติ กฎหมายด้วยความโปร่งใส R : ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กร และชุมชน มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงรากเหง้าของปัญหาและภัยร้ายแรงของการทุจริต ประพฤติมิชอบภายในชุมชนและประเทศ ความตื่นรู้จะบังเกิดเมื่อได้พบเห็นสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการทุจริต ย่อมจะมีปฏิกิริยาเฝ้าระวังและไม่ยินยอมต่อการทุจริตในที่สุด O : ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชน มุ่งพัฒนาและปรับเปลี่ยนตนเองและส่วนรวม ให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนบนฐานความโปร่งใส ความพอเพียง และร่วมสร้างวัฒนธรรมสุจริตให้เกิดขึ้นอย่างไม่ย่อท้อ N : ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชน ต้องมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปใช้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ประเมินได้อย่างท่องแท้ในเรื่องสถานการณ์การทุจริต ผลกระทบที่มีต่อตนเองและส่วนรวม G : คนไทยมีความเอื้ออาทร มีเมตตาน้ำใจต่อกัน บนฐานของจิตพอเพียงต้านทุจริต แต่ไม่เอื้อต่อการรับหรือการให้ผลประโยชน์ต่อพวกพ้อง 2. การปฏิบัติตนตามโมเดล STRONG เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ทั้งครอบครัว ชุมชน และรัฐ คุณลักษณะที่สำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินชีวิตสายกลางด้วยความพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วงคือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง และ 2 เงื่อนไขคือ ความรอบรู้ (รอบคอบ ระมัดระวัง) และ คุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต อดทน สติปัญญา แบ่งปัน) นำไปสู่่ ภูมิคุ้มกันด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต องค์กร ประเทศชาติ แบบไม่เบียดเบียนกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะหล่อหลอมให้เราไม่ทำการทุจริตและไม่ยอมให้ผู้อื่นทำทุจริต ตามแบบอย่างการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้แก่ การใช้นาฬิกา ราคาเรือนละ 750 บาท รองเท้าชำรุดก็ซ่อมให้สามารถใช้ได้ต่อไป เสื้อ และห้องทำงานที่พระองค์ใช้ตลอดพระชนม์ชีพ ที่ไม่ได้เป็นของราคาแพงหรือหรูหรา เป็นเพียงให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์เท่านั้น
28 มี.ค. 2023
เจ้าหน้าที่อบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต"
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ 2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต การประยุกต์หลักควมพอเพียงด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต และการฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากร 2. เพื่อสร้างวิทยากรที่มีทักษะและสามารถขยายผลองค์ความรู้ไปสู่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อมุ่งสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตขอบเขตเนื้อหา วิชาที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม วิชาที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต วิชาที่ 3 การประยุกต์หลักความพอเพียงด้วยโมเดล STRONT : จิตพอเพียงต้านทุจริต วิชาที่ 4 การฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากร
27 มี.ค. 2023
การขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เดือนเมษายน 2566
ขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2566 วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2566 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ประธานในที่ประชุมหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3/2566 ประจำเดือนมีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมประกายแดง ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยในระเบียบวาระการประชุมที่ 5.2 แผนปฏิบะัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม พ.ศ. 2566 นั้น นางสาวปิยกุล กรรณสูต ประธานคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ได้แจ้งแผนการขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำเดือนเมษายน 2566 จำนวน 1 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ ภายใต้คุณธรรมเป้าหมายด้านสืบสานวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลในหน่วยงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณี ค่านิยมอันดีงามของหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสหากรรม โดยกำหนดจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ ในวันพุธที่ 12 เมษายน 2566 ณ ห้องโถง อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 1. การรักษาอัตลักษณ์ความเป็นไทยในประเพณีสงกรานต์ ด้วยการแต่งกายด้วยชุดผ้าไทย ผ้าท้องถิ่น ชุดไทยย้อนยุค 2. การสืบสานประเพณีที่ดีงาม สรงน้ำพระพุทธรูป 3. การสืบสานคุณค่าและสิ่งที่ควรทำของประเพณีสงกรานต์ ด้วยการรดน้ำดำหัวและขอพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 และผู้สูงอายุ โดยการประชุมหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสหากรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ จำนวน 35 ราย
24 มี.ค. 2023
ติดตามความก้าวหน้าสถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริม ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 2 กิจกรรม
DIPROM CENTER วันที่ 23 – 24 มีนาคม 2566 โดย กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม นายชาติชาย ตั้งต้นตระกูล นท.ชง นายอดุลย์ รักษี นวอ. นายสันติ วังทองชุก จนท.ปพอ. นายหิรัญ บุรงค์ พขร. ประชาสัมพันธ์ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ระดับภูมิภาค : ITC ประชาสัมพันธ์สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ติดตามความก้าวหน้าสถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริม ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้ (1).กิจกรรมส่งเสริมสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล จำนวน 2 สถานประกอบการ บริษัท ฟู๊ดส์ อินโน สตาร์ท อัพ จำกัด บริษัท ยูเนี่ยนเบ็ลท์อินดัสตรี้ส์ จำกัด (2).กิจกรรมส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วย Mini ERP จำนวน 1 สถานประกอบการ บริษัทสยามเอเบิ้ล อินโนเวชั่น (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด #Dipromcenter8 #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่8
24 มี.ค. 2023
ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 ร่วมโครงการปฏิบัติราชการเพื่อให้บริการแก่ประชาชน (จังหวัดเคลื่อนที่)
ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 ร่วมโครงการปฏิบัติราชการเพื่อให้บริการแก่ประชาชน (จังหวัดเคลื่อนที่) จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ 23 มีนาคม 2566 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๘ มอบหมายให้กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ร่วมกิจกรรมการออกหน่วยบริการประชาชน โครงการปฏิบัติราชการเพื่อให้บริการแก่ประชาชน (จังหวัดเคลื่อนที่) ในการประชาสัมพันธ์ แนะนำโครงการและการให้บริการต่างๆ เช่น ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม ITC เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรม การให้บริการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน โดยมี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานพิธีเปิด ณ วัดบ้านลาด ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งนี้ ผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานจังหวัดสุพรรณบุรี ให้ความสนใจเยี่ยมชมบูธ พร้อมสอบถามการบริการ โดยมีแนวโน้มว่าจะนำไปขยายผลให้กับประชาชนในท้องถิ่นให้มาปรึกษาแนะนำ และใช้บริการในอนาคตต่อไป
23 มี.ค. 2023
DIPROM CENTER 8 ร่วมทำความดีบริจาคโลหิตช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์
วันพุธที่ 22 มีนาคม 2566 DIPROM CENTER 8 ร่วมทำความดีบริจาคโลหิตช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ นำทีมโดย ผอ.อัญชลีย์พร เขียวเกษม พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย นายสารบูรณ์ บัวสกัด น.ส.สีวลี ศิลป์วรศาสตร์ นางสุภาภรณ์ พรหมบุตร นางสโรชา ทองแผ่ นายขจร มาพลาย นางพลอยไพลิน ถึงรัตน์ นางจินดาพร มาลาวงษ์ น.ส.สุนันท์ นุ้ ยหงส์ น.ส.ณัฐชานันท์ คงดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ ที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพและขาดแคลนทุนทรัพย์ในการซื้อพลาสม่า หรือโลหิตนำมาช่วยรักษาตนเองและบุคคลในครอบครัว ให้มีชีวิตรอดพ้นจากวิกฤตซึ่งอาจจะทำให้ถึงแก่เสียชีวิตลงได้ โดยอานิสงส์ครั้งนี้จะช่วยสร้างจิตสำนึกในการ มีเมตตา ช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนอย่างไม่หวังสิ่งตอบแทน ใดๆและขอเชิญชวนทุกท่านร่วมสะสมแต้มบุญเมื่อท่านยังสามารถทำได้ในครวต่อไป บุญยิ่งสร้าง ยิ่งได้ให้เลือด=ให้ชีวิต
22 มี.ค. 2023
การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ของ ป.ป.ช.
การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ของ ป.ป.ช. ป.ป.ช. ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความรู้ความเข้าใจและสามารถแยกแยะการขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการทุจริต ป.ป.ช.จึงขอเชิญชวนบุคลากรในหน่วยงาน เข้าศึกษาองค์ความรู้ดังกล่าว พร้อมทดสอบความรู้ความเข้าใจและรับวุฒิบัตร (E-Certificate) เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานจะได้มีความรู้ความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง อันป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ฯ และแบบทดสอบดังกล่าวได้ตาม QR Code หรือ ลิงค์ ด้านล่าง จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 https://sites.google.com/view/e-learningcoi นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ได้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ของ ป.ป.ช. เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันของผลประโยชน์ให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการประชุมหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3/2566 ประจำเดือนมีนาคม 2566 ณ วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมประกายแดง ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยในระเบียบวาระการประชุมที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ 1.2 สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันของผลประโยชน์ นั้น ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ประธานการประชุม ได้แจ้งเกี่ยวกับการขัดกันของผลประโยชน์ ภายใต้แผนปฏิบะัติการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบนโยบายในครั้งนี้ จำนวน 35 ราย และได้เชิญชวนให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสหากรรม เข้าศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ พร้อททดสอบความรู้และรับวุฒิบัตร ตาม QR Code ได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566
21 มี.ค. 2023
กิจกรรมกลุ่มงานคุณธรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
กิจกรรมกลุ่มงานคุณธรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วัตถุประสงค์ : เพื่อประกาศเกียรติคุณกลุ่มงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแบบอย่างที่ดีและมีบทบาทในการสร้างคนดีเพื่อสังคมดี ส่งเสริมให้คนในหน่วยงานมีทัศนคติ วิธีคิด และการประพฤติปฏิบัติที่สะท้อนการมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่มีเหมาะกับสังคมไทยมากขึ้น ตัวชี้วัด : มีการประกาศยกย่องเชิดชูกลุ่มงานที่มีคุณธรรมเป้าหมายของหน่วยงาน และประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ กิจกรรมผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ช่องทาง ผู้รับผิดชอบ : คณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ตามคำสั่ง ศภ.8 กสอ. ที่ 1/2566 สั่ง ณ วันที่ 19 มกราคม 2566 ก่อนการดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชื่อคุณธรรมเป้าหมายด้านสืบสานวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม กิจกรรมลำดับที่ 6 กิจกรรมกลุ่มงานคุณธรรม ศภ.8 กสอ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566ระหว่างดำเนินการ คณะทำงานฯ ได้พิจารณาแนวทางการคัดเลือกกลุ่มงานคุณธรรมของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยการประชุมคณะทำงานฯ ตามคำสั่ง ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ 1/2566 สั่ง ณ วันที่ 19 มกราคม 2566 ประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ในฐานนะที่ปรึกษา และ ผู้อำนวยการกลุ่ม จำนวน 3 กลุ่ม ในฐานะคณะทำงานฯ ได้ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกกลุ่มงานคุณธรรม ที่มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู ผลการพิจารณา กลุ่มที่ได้รับการคัดเลือกคือ กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ โดยจะมีการมอบเกียรติบัตร กลุ่มงานคุณธรรม ในที่ประชุมหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3/2566 ประจำเดือนมีนาคม 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2566 ต่อไป หลังดำเนินการ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 โดยนางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม มอบเกียรติบัตรให้แก่ กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสหากรรม โดย นางสาวอุดมรัตน์ วุฒิสาร ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจและผู้ประกอบการ พร้อมเจ้าหน้าที่ รับเกียรติบัตร และได้ประกาศเกียรติคุณการเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุคลากรอื่น ๆ ในที่ประชุมหน่วยงาน ครั้งที่ 3/2566 ประจำเดือนมีนาคม 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมประกายแดง ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดคือ มีการประกาศยกย่องเชิดชูกลุ่มงานที่มีคุณธรรมเป้าหมายของหน่วยงาน และมีประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจกรรมผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ช่องทาง ดังนี้ 1. กลุ่ม line GCC3_อก_ศภ.8 2. ในที่ประชุมหน่วยงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3/2566 ประจำเดือนมีนาคม 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2566 3. เว็บไซต์ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม https://ipc8.dip.go.th และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมคือ มีการประกาศเกียรติคุณกลุ่มงานที่ได้รับการคัดเลือก และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่กลุ่มงานอื่น ๆ ได้ตระหนักถึงเกียรติ ศักดิ์ศรี และหน้าที่รับผิดชอบของข้าราชการในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน
21 มี.ค. 2023