โรงเรียนวัดรางกร่าง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เข้าหารือกับศูนย์ ITC
#โรงเรียนวัดรางกร่าง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ทราบข่าวบริการของ #ศูนย์ITCระดับภูมิภาค จากการประชาสัมพันธ์ของ #สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี เข้าหารือกับศูนย์ ITC โดยสนใจขอบูรณาการความร่วมมือในการทำโครงงานของโรงเรียน ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพให้กับนักเรียน
26 ก.พ. 2562
อบรม Design workshop การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
ศูนย์ ITC ระดับภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี นำผู้เข้าอบรม Design workshop การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ จัดโดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เข้าศึกษาดูงานบริการต่างๆของศูนย์ ITC เพื่อลงทะเบียนรับบริการต่อไป
22 ก.พ. 2562
ศูนย์ ITC ระดับภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี ให้บริการแก่ นายวิเชียร อัครไพบูลย์ อดีต ผอ.โรงเรียน
ศูนย์ ITC ระดับภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี ให้บริการแก่ นายวิเชียร อัครไพบูลย์ อดีต ผอ.โรงเรียน ซึ่งเริ่มต้นธุรกิจหลังเกษียณ โดยจำหน่ายกุ้งขาวส่งในจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งมีวัตถุดิบจำนวนมากและต้องการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าและยอดขาย โดยรับทราบบริการศูนย์ ITC จากเว็บไซต์ จึงขอเข้าปรึกษาแนะนำด้านเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่มีบริการ พร้อมทั้งทดลองสร้างแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas หรือ BMC) สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง โดยจะขอรับบริการปรึกษาแนะนำเชิงลึกเรื่องเทคนิควิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่กับที่ปรึกษาเฉพาะทางเพื่อเริ่มจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ต่อไป #สนใจรับบริการ 035-441025 #ศูนย์ITCภูมิภาค #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม#Industry_Transformation_Center
21 ก.พ. 2562
รอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "แย๊บด้วย Facebook แล้วฮุคด้วย Line" โ
วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 9.30 น. นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "แย๊บด้วย Facebook แล้วฮุคด้วย Line" โครงการยกระดับ SMEs สู่ Global ด้วยการค้าออนไลน์ ภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ.โรงแรมรอยัลไดมอน จังหวัดเพชรบุรี
18 ก.พ. 2562
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพการอาหาร คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ซึ่งได้พัฒนาสูตรการผลิตข้าวตัง ได้ร่วมกับ ศูนย์ ITC ภูมิภาค
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพการอาหาร คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ซึ่งได้พัฒนาสูตรการผลิตข้าวตัง ได้ร่วมกับ ศูนย์ ITC ภูมิภาค เพื่อใช้ #เครื่องทอดระบบสุญญากาศ (Vacuum Fryer) ทำการทดลองผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งได้ผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ
18 ก.พ. 2562
ศูนย์ ITC ระดับภูมิภาค ได้ให้บริการแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟ
ศูนย์ ITC ระดับภูมิภาค ได้ให้บริการแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟ เพื่อทดลองการผลิตกาแฟแบบผงพร้อมชง โดยเริ่มต้นทดลองใช้บริการเครื่องจักรกลางตั้งแต่ #เครื่องบด > #เครื่องสกัดสมุนไพรด่วน > #เครื่องทำสารข้นด้วยการระเหย > #เครื่องสเปรย์ดราย จนได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบกาแฟผง
18 ก.พ. 2562
อบรมโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ จิตอาสา 904 “หลักสูตรหลักประจำ” รุ่นที่ 2/61 “
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพัธ์ 2562 นางสาวปิยกุล กรรณสูต ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค และนางสาวอริศรา กัลยาบาล นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เข้าร่วมอบรมโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ จิตอาสา 904 “หลักสูตรหลักประจำ” รุ่นที่ 2/61 “เป็นเบ้าเป็นแม่พิมพ์” ณ หอประชุมอาชาสีหมอก ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี จัดโดยสำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี
15 ก.พ. 2562
สัมมนา "กิจกรรมสร้างเครือข่ายหน่วยงานผู้สนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรใน SMEs" ภายใต้โครงการส่งเสริมผลิตภาพและสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
วันพฤหัสบดีที่ 7 ก.พ.62 นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เป็นประธานเปิดการสัมมนา "กิจกรรมสร้างเครือข่ายหน่วยงานผู้สนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรใน SMEs" ภายใต้โครงการส่งเสริมผลิตภาพและสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีนางชัญญาภัค มุณีจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นผู้กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจากนายวินัยศักดิ์ เหมืองทอง ผู้จัดการโครงการ SHAP นางชรินทร์ทิพย์ เอนกวรินธร ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล และนายพสิษฐิ์ เรืองวิริยะกุล บริษัท ศรีฟ้าโฟรเซนฟู้ด จำกัด เป็นวิทยากร ณ ห้องประชุมบุษราคัม โรงแรมศรีอู่ทอง แกรนด์ จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน และสถาบันการศึกษาเข้าร่วมสัมมนา จำนวน 23 หน่วยงาน ได้แก่1. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี2. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคที่ 23. สำนักงานแรงงานจังหวัดสุพรรณบุรี4. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี5. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี6. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุพรรณบุรี7. สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุพรรณบุรี8. โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช9. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรบุรี10. ธนาคารกรุงไทย สาขาสุพรรณบุรี11.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาสุพรรณบุรี12. ธนาคารออมสิน สาขาสุพรรณบุรี13.โรงพยาบาลศุภมิตร14. บริษัท ไฮเทคแอพพาเรล (สุพรรณบุรี) จำกัด15.โรงเย็บผ้าหัวนา (เดิมบางผ้าไทย)16. สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี17. บริษัท เอ็กซิม สุพรรณการ์เม้นท์ จำกัด18. บริษัท ศรีฟ้าโฟรเซนฟู้ด จำกัด19. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี20. วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร - แจ่มใส จังหวัดสุพรรณบุรี21. วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง22. วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง23. วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี
07 ก.พ. 2562
ประชุมจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตกของบ้านทุ่งประดู่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ (หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ CIV)
วันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2562 นายมานะ พุทธิโชติ นายช่างเทคนิคชำนาญงาน เข้าร่วมประชุมจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตกของบ้านทุ่งประดู่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ (หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ CIV) ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย จัดโดย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์
07 ก.พ. 2562
ประชุมชี้แจงแนวทางการนำเข้าข้อมูลระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ หมู่บ้าน CIV พร้อมทั้งมอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)
“อธิบดีกอบชัย” เสริมแกร่งบุคลากร กสอ. ใช้สื่อออนไลน์ ยกระดับหมู่บ้าน CIV ทั่วประเทศ กรุงเทพฯ 4 กุมภาพันธ์ 2562 – นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงแนวทางการนำเข้าข้อมูลระบบฐานข้อมูลหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ หมู่บ้าน CIV พร้อมทั้งมอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว ณ ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 6 อาคาร กสอ. การอบรมดังกล่าว เป็นการชี้แจงแนวทางการนำเข้าข้อมูลระบบฐานข้อมูลหมู่บ้าน CIV และสินค้าชุมชน เพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทาง Online ด้วยระบบ Application CIV like โดยนำเสนอเรื่องราวท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชน แผนที่แหล่งท่องเที่ยว รวมถึงที่พักโฮมสเตย์ให้ผู้สนใจได้ดูข้อมูลก่อนเดินทาง ซึ่งช่วยสร้างโอกาสทางการตลาด สร้างระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัย สามารถดึงดูดผู้เข้าเยี่ยมชมหมู่บ้าน และก่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างยั่งยืนในท้องถิ่น ซึ่งสามารถแสดงผลบนสมาร์ทโฟนทั้งในระบบปฏิบัติการ IOS และ Android อันเป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้ใช้งานได้สะดวก โดยนำร่อง จำนวน 27 หมู่บ้าน จาก 215 หมู่บ้านทั่วประเทศ ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจาก กสอ. อย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาหมู่บ้าน CIV 3 เสาหลัก คือ C : Consensus ฉันทามติที่ยอมรับซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วม และเข้าใจกัน I : Identity อัตลักษณ์สินค้าและบริการชุมชน เน้นอัตลักษณ์ชุมชน และ V : Value Creation การสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้เพิ่มให้ชุมชน ทั้งนี้ Application ดังกล่าวจะเป็นช่องทางในการสร้างประโยชน์ให้ชุมชนหมู่บ้าน CIV อย่างแท้จริง และสามารถพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เข้าร่วมประชุม จำนวน 2 คนคือ 1.นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ 2.นางสาวพลอยไพลิน ประทาน ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรม
04 ก.พ. 2562