วิชาที่ 3 การประยุกต์หลักความพอเพียงด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและความสำคัญของโมเดล STRONG ได้
2. แสดงตัวอย่างการปฏิบัติตนตามโมเดล STRONG ได้
เจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้
1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ
2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ
1. ความหมายและความสำคัญของโมเดล STRONG
STRONG | จิตพอเพียง | ต้านทุจริต | หลักการเพื่อการดำเนินชีวิตและพัฒนาประเทศ |
S | Sutficient | ความพอเพียง | ใช้เงินเท่าที่มี ซื้อของตามฐานะ จึงไม่มีหนี้ |
T | Transparent | ความโปร่งใส | ของใช้ส่วนตัวทุกชิ้นสามารถบอกได้ว่าได้มาอย่างไร |
R | Realise | ตื่นรู้ | เมื่อได้รู้ข่าวว่าการโกง การทุจริต จะหาข้อมูลเชิงลึกว่าเกิดขึ้นอย่างไร สาเหตุมาจากไหน |
O | Onward | มุ่งไปข้างหน้า | ตั้งใจเรียน ศึกษาหาความรู้รอบตัวเพิ่มขึ้น หาความชอบของตนและพัฒนาให้ดีขึ้น |
N | Knowledge | ความรู้ | ศึกษาหาความรู้ข้อเท็จจริงแทนการฟังแล้วเชื่อทันที |
G | Generosit | เอื้ออาทร | มีน้ำใจและอ่อนโยนกับคนรอบข้างเสมอ |
S : น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิพอเพียงมาปรับประยุกต์ เพื่อเป็นหลักความพอเพียงในการทำงานและการดำรงชีวิต การพัฒนาตนเองและส่วนรวม รวมถึงการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน
T : ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชน ต้องปฏิบัติงานบนฐานของความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ดังนั้นจึงต้องมีและปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ ระเบียบ ข้อปฏิบัติ กฎหมายด้วยความโปร่งใส
R : ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กร และชุมชน มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงรากเหง้าของปัญหาและภัยร้ายแรงของการทุจริต ประพฤติมิชอบภายในชุมชนและประเทศ ความตื่นรู้จะบังเกิดเมื่อได้พบเห็นสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการทุจริต ย่อมจะมีปฏิกิริยาเฝ้าระวังและไม่ยินยอมต่อการทุจริตในที่สุด
O : ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชน มุ่งพัฒนาและปรับเปลี่ยนตนเองและส่วนรวม ให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนบนฐานความโปร่งใส ความพอเพียง และร่วมสร้างวัฒนธรรมสุจริตให้เกิดขึ้นอย่างไม่ย่อท้อ
N : ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชน ต้องมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปใช้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ประเมินได้อย่างท่องแท้ในเรื่องสถานการณ์การทุจริต ผลกระทบที่มีต่อตนเองและส่วนรวม
G : คนไทยมีความเอื้ออาทร มีเมตตาน้ำใจต่อกัน บนฐานของจิตพอเพียงต้านทุจริต แต่ไม่เอื้อต่อการรับหรือการให้ผลประโยชน์ต่อพวกพ้อง
2. การปฏิบัติตนตามโมเดล STRONG
เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ทั้งครอบครัว ชุมชน และรัฐ คุณลักษณะที่สำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินชีวิตสายกลางด้วยความพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วงคือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง และ 2 เงื่อนไขคือ ความรอบรู้ (รอบคอบ ระมัดระวัง) และ คุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต อดทน สติปัญญา แบ่งปัน) นำไปสู่่ ภูมิคุ้มกันด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต องค์กร ประเทศชาติ แบบไม่เบียดเบียนกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะหล่อหลอมให้เราไม่ทำการทุจริตและไม่ยอมให้ผู้อื่นทำทุจริต ตามแบบอย่างการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้แก่ การใช้นาฬิกา ราคาเรือนละ 750 บาท รองเท้าชำรุดก็ซ่อมให้สามารถใช้ได้ต่อไป เสื้อ และห้องทำงานที่พระองค์ใช้ตลอดพระชนม์ชีพ ที่ไม่ได้เป็นของราคาแพงหรือหรูหรา เป็นเพียงให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์เท่านั้น