กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมเทศกาลสงกรานต์
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้บุคคลในหน่วยงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณี ค่านิยมอันดีงามของหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสหากรรม
ตัวชี้วัด : จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีวัตฒนธรรมของหน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบ : กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค และ คณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ตามคำสั่ง ศภ.8 กสอ. ที่ 1/2566 สั่ง ณ วันที่ 19 มกราคม 2566
ก่อนการดำเนินการ
ตามแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชื่อคุณธรรมเป้าหมายด้านสืบสานวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม กิจกรรมลำดับที่ 4.7 กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมเทศกาลสงกรานต์ นั้น
สงกรานต์ คือ ประเพณีของประเทศไทย สงกรานต์ เป็นคำในภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง การเคลื่อนย้าย โดยเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายการประทับในจักรราศี หรือการเคลื่อนเข้าสู่ปีใหม่ตามความเชื่อของไทย ประเพณีสงกรานต์นั้นมีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงมักเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ วันที่ 13 – 15 เมษายน ซึ่งชาวดีพร้อม 8 ได้อนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามนี้สืบต่อกันมา
ระหว่างดำเนินการ
วันพุธที่ 12 เมษายน 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรมสืบสานวิถีวัฒนธรรมเทศกาลสงกรานต์ ประกอบด้วย
1. การรักษาอัตลักษณ์ความเป็นไทยในประเพณีสงกรานต์ ด้วยการแต่งกายด้วยเสื้อลายดอก
2. การสืบสานประเพณีที่ดีงาม สรงน้ำพระพุทธรูป
3. การสืบสานคุณค่าและสิ่งที่ควรทำของประเพณีสงกรานต์ ด้วยการรดน้ำดำหัวและขอพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 และผู้สูงอายุ จำนวน 3 ท่าน ดังนี้
3.1 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8
3.2 นางอุดมรัตน์ วุฒิสาร ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ (ผู้เกษียณอายุราชการ ปี 2566)
3.3 นายธงชัย สุขศิริปกรณ์ชัย พนักงานขับรถยต์ ส2/หัวหน้า (ผู้เกษียณอายุราชการ ปี 2566)
ณ ห้องโถง อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
หลังดำเนินการ
บุคลากรของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสหากรรม ได้ร่วมกันสืบสานวิถีวัฒนธรรมเทศกาลสงกรานต์สืบทอดต่อไปและได้รับพรอันประเสริฐจากพระพุทธ และผู้อำนวยการและผู้อาวุโส ซึ่งผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดคือ มีการจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมของหน่วยงาน