ประวัติความเป็นมา


18 ต.ค. 2016    N/A    21

     ประวัติกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

         

      การบริหารราชการมาแต่เดิมนั้นได้มีการประกาศตั้ง "กองอุตสาหกรรม" สังกัดอยู่กรมพาณิชย์กระทรเศรษฐกตามพระราชกฤษฎีกาการจัดวางระเบียบ การสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ (ฉบับที่ 13) ตราไว้ ณ วันที่ 25 มกราคม 2479

กองอุตสาหกรรมนี้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนและค้นคว้า ควบคุม คุ้มครอง การอุตสาหกรรมต่างๆ ที่กระทำการอยู่แล้วและจะเกิดใหม่ให้ดำเนินการตามแบบแผนและวิธีการที่ดี ในขั้นแรกดำเนินการให้ความสำคัญและเน้นหนักในด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ (ฉบับที่ 7) ตราไว้ ณ วันที่ 1 เมษายน 2481 และให้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งด้านด้านควบคุมโรงงานและส่งเสริมการเผยแพร่กิจกรรมอุตสาหกรรม พร้อมทั้งบริหารร้านจำหน่ายสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศชื่อ "ร้านไทยอุตสาหกรรม"
ปี พ.ศ. 2484 รัฐบาลเห็นความสำคัญของกองอุตสาหกรรมต่อการพัฒนาอุตสาหรกรรมภายในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น  จึงได้ยกฐานะกองอุตสาหกรรมขึ้นเป็น  "กรมอุตสาหกรรม" ในกระทรวงเศรษฐกิจตามพ.ร.บ ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484

ปี พ.ศ.2485 รัฐบาลได้ประกาศพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2485 จัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สังกัดในกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2485 โดยมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมที่จำเป็นของประเทศ

ปี พ.ศ. 2518 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ขยายงานไปสู่ส่วนภูมิภาค  โดยจัดตั้งกองบริการอุตสาหกรรมภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2518 รวมทั้งได้ขยายงานไปสู่ภาคใต้ ณ จังหวัดสงขลาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดขอนแก่น  ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2532  ได้ขยายงานไปสู่ภาคตะวันตก  ณ  จังหวัดสุพรรณบุรี  และภาคตะวันออก  ณ  จังหวัดชลบุรี

ปี พ.ศ. 2536 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเพิ่มขึ้นอีก 6 ศูนย์ ณ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุราษฎร์ธานี รวมเป็น 11 ศูนย์  เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

ปีพ.ศ.2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่5) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ.2545  เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 จึงได้ปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริการงานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีการวัดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมโดยเป็นการปฏิบัติงานในรูปแบบของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและเป็นธรรม

ปีพ.ศ.2548 คณะรัฐมนตรีมีมติในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีมีนัดพิเศษ  เมื่อวันที่  17  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2546  ได้จำแนกกลุ่มจังหวัดไว้  19  กลุ่ม  โดยให้แต่ละจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน  จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ตั้งของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่  7  จังหวัดบุรีรัมย์เป็นจังหวัดอุบลราชธานี  ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548

ปีพ.ศ.2550 ดำเนินการปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549  เพื่อปรับปรุงและพัฒนาส่วนราชการและวิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนระบบบุคคลให้ทันสมัยและรองรับกับยุทธศาสตร์ และคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  โดยจัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์  และปรับเปลี่ยนสำนักงานเลขานุการกรมเป็นสำนักบริหารกลางรวมทั้งแยกสำนักพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเป็นสำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม  และสำนักพัฒนาผู้ประกอบการ  ทั้งนี้  ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม  ณ  วันที่  23  มกราคม  พ.ศ. 2551

 

    ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จังหวัดสุพรรณบุรี    

 

    ความเป็นมา

         ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เป็นหน่วยงานราชการ สังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เดิมชื่อ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคตะวันตก ตั้งอยู่เลขที่ 117 หมู่ 1 ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 ในสมัยที่ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นายพิศาล คงสำราญ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในขณะนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองนโยบายการกระจายรายได้และอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค ตลอดจนมุ่งส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และอุตสาหกรรมชุมชน ให้มีศักยภาพในการแข่งขันสู่ระดับสากล โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ 12 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

 

ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา