วิชาที่ 4 บทบาทและหน้าที่ของวิทยากร
วิชาที่ 4 บทบาทและหน้าที่ของวิทยากร จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. ระบุบทบาทและหน้าที่ของวิทยากรได้ 2. อธิบายเทคนิคการเป็นวิทยากรที่ดีได้ (ก่อน-ระหว่าง-หลัง การบรรยาย) เจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ 2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ วิทยากร คือ ผู้ทำหน้าที่เป็นตัวการที่จะทำให้ผู้รับการอบรมเกิดการเรียนรู้ และสามารถจุดประกายความคิด เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ของหัวเรื่องหรือวิชานั้น ๆ โดยวิทยากรจะต้องเป็นบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถ ตลอดจนการพูดหรือนำเสนอและใช้เทคนิคต่าง ๆ ในเรื่องนั้น ๆ จนสามารถทำให้ผู้รับการฝึกอบรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ1. บทบาทหน้าที่ของวิทยากร 1. เป็นผู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ 2. เป็นผู้ฝึก 3. เป็นพี่เลี้ยง 4. เป็นผู้สอน 5. เป็นผู้บรรยาย 2. เทคนิคการเป็นวิทยากรที่ดี ก่อน : เตรียมตัว 1. ประสานงานกับผู้จัด ขอข้อมูล ได้แก่ หลักสูตร กลุ่มผู้เข้าอบรม เอกสารประกอบ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ 2. เขียนแผนการฝึกอบรม เพื่อเป็นแนวทางว่าจะถ่ายทอด ใช้สื่อ เทคนิคอย่างไร ให้เหมาะสมกับผู้อบรม 3. เตรียมอุปกรณ์ สื่อต่าง ๆ เช่น ไฟล์นำเสนอ กระดาษ ระหว่าง : ตรวจสอบสถานที่อบรมและอุปกรณ์ต่าง ๆ สอบถามข้อมูลต่าง ๆ เช่น บรรยากาศในการฝึกอบรม ใครเป็นผู้นำกลุ่ม วิทยากรคนก่อน ๆ พูดเกี่ยวกับอะไร 1. ความสามารถในการถ่ายทอด เทคนิค และใช้สื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ 2. เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิด คอยกระตุ้นให้ผู้อบรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น ชี้แนะ สรุปประเด็น และนำเสนอแนวทางที่เหมาะสม 3. สร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ทั้งด้านกายภาพ(อุปกรณ์ สื่อ) และด้านจิตภาพ(ผู้อบรมสนใจที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา) หลัง : ติดตามผลการประเมินฝึกอบรม เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาตนในครั้งต่อไป 1. ประเมินผลอบรม จากการสังเกตุและขอข้อมูลจากผู้จัด เพื่อทราบผลการปฏิบัติงานของตน และนำไปปรับปรุง 2. ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น มอบวุฒิบััตร เลี้ยงสังสรรค์กับผู้อบรม 3. ติดตามผลอบรมของผู้อบรมว่า นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใด พร้อมให้คำแนะนำต่อ บันได 13 ขั้นสู่ความสำเร็จในการเป็นวิทยากร เตรียมให้พร้อม ซักซ้อมให้ดี ท่าทีสง่า หน้าตาให้สุขุม เริ่มต้นให้โน้มน้าว ทักที่ประชุมไม่วกวน เรื่องราวให้กระชับ ตาจับที่ผู้ฟัง เสียงดังพอดี อย่างมีเอ้อ่า ดูเวลาให้พอครบ สรุปจบให้จับใจ ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดการพูด
12 พ.ค. 2023
วิชาที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
วิชาที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายรูปแบบของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม 10 รูปแบบได้ 2. แสดงตัวอย่างการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้ 3. อธิบายการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาได้ 4. อธิบายแนวทางปฏิบัติในการให้ของขวัญและรับของขวัญของเจ้าหน้าที่รัฐได้ เจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ 2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ เรื่อง รูปแบบของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม 10 รูปแบบ พร้อมตัวอย่าง ดังนี้ การรับผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ รับของขวัญจากบริษัทเอกชนที่ช่วยให้บริษัทชนะการประมูลรับงานโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ การทำธุรกิจกับตนเองหรือคู่สัญญา เช่น ผู้บริหารของหน่วยงาน ทำสัญญาจ้างบริษัทที่ภรรยาของตนเป็นเจ้าของ มาเป็นที่ปรึกษาของหน่วยงาน การทำงานหลังจากออกจากตำแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ (นับตั้งแต่พ้นจากตำแหน่งไม่เกิน 2 ปี) เช่น เจ้าหน้าที่ขององค์กรด้านเวชภัณฑ์และสุขภาพ ออกจากราชการไปทำงานในบริษัทผลิตหรือขายยา การทำงานพิเศษ เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน แต่เอาเวลาไปรับงานพิเศษที่นอกเหนือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน การรู้ข้อมูลภายใน เช่น เจ้าหน้าที่พัสดุเปิดเผยข้อมูลของฝ่ายที่มายื่นประมูลไว้ก่อนหน้า ให้แก่ผู้ประมูลรายอื่นที่ให้ผลประโยชน์ ทำให้ฝ่ายที่มายื่นประมูลก่อนเสียเปรียบ การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตน เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้มีอำนาจอนุมัติให้ใช้รถราชการ นำรถยนต์ราชการไปใช้ในกิจส่วนตัว การนำโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ในทางการเมือง เช่น นักการเมืองในจังหวัด ขอเพิ่มงบประมาณเพื่อนำโครงการสร้างสะพานลงในจังหวัดโดยใช้ชื่อสกุลของตนเป็นชื่อสะพาน การใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แก่เครือญาติ เช่น พนักงานสอบสวนละเว้นไม่นำบันทึกการจับกุมที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมทำขึ้นในวันเกิดเหตุรวมเข้าสำนวย แต่กลับเปลี่ยนบันทึำและแก้ไขข้อหาในบันทึก เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาซึ่งเป็นญาติให้รับโทษน้อยลง การใช้อิทธิพลเข้าไปมีผลต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐอื่น เช่น เจ้าหน้าที่รัฐใช้ตำแหน่งเข้าแทรกแซงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย การขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมประเภทอื่น เช่น เจ้าหน้าที่รัฐลงเวลาปฏิบัติงานนอกเวลา โดยมิอยู่ปฏิบัติงานจริงเรื่อง การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา1. จากญาติให้โดยเสน่หา2. จากมิใช่ญาติ ไม่เกิน 3,000 บาท3. ลักษณะการให้กับบุคคลทั่วไปเรื่อง แนวทางปฏิบัติในการให้ของขวัญและรับของขวัญของเจ้าหน้าที่รัฐ1. เจ้าหน้าที่รัฐ จะให้ของขวัญแก่ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลในครอบครัวของผู้บังคับบัญชา นอกเหนือจากกรณีปกติประเพณีนิยมที่มีการให้ของขวัญ แก่กันมิได้2. ผู้บังคับบัญชาจะยินยอมให้บุคคลในครอบครัวรับของขวัญจากผู้อยู่ในบังคับบัญชา มิได้3. เจ้าหน้าที่ จะยอมให้บุคคลในครอบครัวรับของจากผู้เกี่ยวข้องการทำงานมิได้4. ยอมให้บุคคลในครอบครัวรับได้ตามประเพณีนิยม ราคาไม่เกิน 3,000 บาท5. ถ้าคนในครอบครัวรับ ให้เจ้าหน้าที่รัฐรายงานผู้บังคับบัญชาทันที6. ให้ใช้บัตรอวยพร ลงนามสมุดอวยพร บัตรแสดงความเสียใจ แทน
10 พ.ค. 2023
วิชาที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
วิชาที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความแตกต่างระหว่างการทุจริตโดยข้าราชการและการทุจริตโดยนักการเมืองได้ 2. อธิบายการทุจริต 3 ประเภท เจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ 2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ เรื่อง รูปแบบการทุจริต ปัญหาการทุจริต เป็นปัญหาที่สำคัญของไทย ทำกันหลายฝ่าย นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และ ภาคเอกชน ประกอบด้วย ผู้ให้ประโยชน์ ได้แก่ ภาคเอกชน และ ผู้รับประโยชน์ ได้แก่ นักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ ให้ทำหรือไม่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้ให้ร้องขอ 1. ความแตกต่างระหว่างการทุจริตโดยข้าราชการและการทุจริตโดยนักการเมือง ⇒ การทุจริตโดยข้าราชการ หมายถึง การกระทำที่มีการใช้หน่วยงานราชการเพื่อมุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากการปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้น ๆ มากกว่าประโยชน์์ส่วนรวมของสังคมหรือประเทศ มี 2 ประเภท ดังนี้ 1. การคอร์รัปชันตามน้ำ เกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องการสินบน โดยให้มีการจ่ายตามช่องทางของทางราชการ แต่ให้เพิ่มสินบนรวมเข้าไว้กับการจ่ายค่าบริการของหน่วยงานนั้น ๆ โดยที่เงินค่าบริการปกติที่หน่วยงานนั้นจะต้องได้รับก็ยังคงได้รับต่อไป เช่น การจ่ายเงินพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ในการออกเอกสารต่าง ๆ นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมปกติที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว เป็นต้น 2. การคอร์รัปชันทวนน้ำ เป็นการคอร์รัปชันในลักษณะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเรียกร้องเงินจากผู้ขอรับบริการโดยตรง โดยที่หน่วยงานนั้นไม่ได้มีการเรียกเก็บเงินค่าบริการแต่อย่างใด เช่น ในการออกเอกสารของหน่วยงานราชการไม่ได้มีการกำหนดให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ในกรณีนี้มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้มาใช้บริการของหน่วยงานของรัฐ ⇒ การทุจริตโดยนักการเมือง : เป็นการใช้หน่วยงานของทางราชการโดยบรรดานักการเมือง เพื่อมุ่งแสงหาผลประโยชน์ในทางการเงินมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของสังคมหรือประเทศ รูปแบบหรือวิธีการทั้่วไป จะมีลักษณะเช่นเกียวกับการทุจริตโดยข้าราชการ แต่จะเป็นในระดับที่สูงกว่า เช่นการประมูลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ มีการเรียกรับ ยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ต่าง ๆ จากภาคเอกชน เป็นต้น ตัวอย่าง ทุจริตโครงการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง รัฐสูญเงิน 1,192.2 ล้านบาท, ทุจริตโครงการโรงงานบำบัดน้ำเสีย รัฐสูญเงิน 23,701 ล้านบาท, ทุจริตการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข รัฐสูญเงิน 181 ล้านบาท 1. เกิดจากการใช้อำนาจในการกำหนดกฎ กติกา พื้นฐาน เช่น การออกกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจของตนหรือพวกพ้อง 2. เกิดจากการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากฎและระเบียบที่ดำรงอยู่ ซึ่งมักจะเกิดจากความไม่ชัดเจนของกฎและระเบียบเหล่านั้น ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ใช้ความคิดเห็นของตนได้ และการใช้ความคิดเห็นนั้นอาจไม่ถูกต้อง หากมีการใช้ไนทางที่ผิดหรือไม่ยุติธรรมได้ 2. การทุจริต 3 ประเภท 1. แบ่งตามผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 ประเภทคือ 1.1 ทุจริตโดยข้าราชการ 1.2 ทุจริตโดยนักการเมือง 2. แบ่งตามกระบวนการที่ใช้ 3. แบ่งตามลักษณะรูปธรรม องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (IT : Transparency Inter National) ปี 2564 ไทยได้คะแนน 35/100 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 110/180 ของประเทศทั่วโลก และอยู่ในอันดับที่ 5/9 ของประเทศภูมิภาคอาเซียน ด้วย 10 ประเด็น ดังนี้ 1. ติดสินบน 2. ใช้งบประมาณแผ่นดิน 3. เจ้าหน้าที่รัฐใช้หน่วยงานรัฐเพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยไม่มีความผิด 4. ความยุ่งยากของระบบราชการที่เอื้อให้เกิดการทุจริต 5. ระบบราชการเป็นระบบคุณธรรมหรืออุปถัมภ์ 6. การดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้ทุจริต 7. กฎหมายและงบประมาณที่เอื้อต่อการจับกุมผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อน 8. กฎหมายคุ้มครองผู้เปิดเผยหรือแจ้งเบาะแสการทุจริต 9. การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ 10. การเข้าถึงข้อมูลภาครัฐ ประเทศไทยมีการแก้ไขแล้วปัญหาลดลง ได้แก่ 1. รับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ 2. การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวม ปัญหาที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน 1. เจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมใช้หน้าที่ในมิชอบ 2. การสร้างการรับรู้ว่าการทุจริตยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง 3. ภาคธุรกิจยังคงมีการจ่ายเงินสินบนในกระบวนการต่าง ๆ 4. ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
29 มี.ค. 2023
วิชาที่ 3 การประยุกต์หลักความพอเพียงด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
วิชาที่ 3 การประยุกต์หลักความพอเพียงด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความหมายและความสำคัญของโมเดล STRONG ได้ 2. แสดงตัวอย่างการปฏิบัติตนตามโมเดล STRONG ได้ เจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ 2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ 1. ความหมายและความสำคัญของโมเดล STRONG STRONG จิตพอเพียง ต้านทุจริต หลักการเพื่อการดำเนินชีวิตและพัฒนาประเทศ S Sutficient ความพอเพียง ใช้เงินเท่าที่มี ซื้อของตามฐานะ จึงไม่มีหนี้ T Transparent ความโปร่งใส ของใช้ส่วนตัวทุกชิ้นสามารถบอกได้ว่าได้มาอย่างไร R Realise ตื่นรู้ เมื่อได้รู้ข่าวว่าการโกง การทุจริต จะหาข้อมูลเชิงลึกว่าเกิดขึ้นอย่างไร สาเหตุมาจากไหน O Onward มุ่งไปข้างหน้า ตั้งใจเรียน ศึกษาหาความรู้รอบตัวเพิ่มขึ้น หาความชอบของตนและพัฒนาให้ดีขึ้น N Knowledge ความรู้ ศึกษาหาความรู้ข้อเท็จจริงแทนการฟังแล้วเชื่อทันที G Generosit เอื้ออาทร มีน้ำใจและอ่อนโยนกับคนรอบข้างเสมอ S : น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิพอเพียงมาปรับประยุกต์ เพื่อเป็นหลักความพอเพียงในการทำงานและการดำรงชีวิต การพัฒนาตนเองและส่วนรวม รวมถึงการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน T : ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชน ต้องปฏิบัติงานบนฐานของความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ดังนั้นจึงต้องมีและปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ ระเบียบ ข้อปฏิบัติ กฎหมายด้วยความโปร่งใส R : ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กร และชุมชน มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงรากเหง้าของปัญหาและภัยร้ายแรงของการทุจริต ประพฤติมิชอบภายในชุมชนและประเทศ ความตื่นรู้จะบังเกิดเมื่อได้พบเห็นสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการทุจริต ย่อมจะมีปฏิกิริยาเฝ้าระวังและไม่ยินยอมต่อการทุจริตในที่สุด O : ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชน มุ่งพัฒนาและปรับเปลี่ยนตนเองและส่วนรวม ให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนบนฐานความโปร่งใส ความพอเพียง และร่วมสร้างวัฒนธรรมสุจริตให้เกิดขึ้นอย่างไม่ย่อท้อ N : ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชน ต้องมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปใช้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ประเมินได้อย่างท่องแท้ในเรื่องสถานการณ์การทุจริต ผลกระทบที่มีต่อตนเองและส่วนรวม G : คนไทยมีความเอื้ออาทร มีเมตตาน้ำใจต่อกัน บนฐานของจิตพอเพียงต้านทุจริต แต่ไม่เอื้อต่อการรับหรือการให้ผลประโยชน์ต่อพวกพ้อง 2. การปฏิบัติตนตามโมเดล STRONG เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ทั้งครอบครัว ชุมชน และรัฐ คุณลักษณะที่สำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินชีวิตสายกลางด้วยความพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วงคือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง และ 2 เงื่อนไขคือ ความรอบรู้ (รอบคอบ ระมัดระวัง) และ คุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต อดทน สติปัญญา แบ่งปัน) นำไปสู่่ ภูมิคุ้มกันด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต องค์กร ประเทศชาติ แบบไม่เบียดเบียนกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะหล่อหลอมให้เราไม่ทำการทุจริตและไม่ยอมให้ผู้อื่นทำทุจริต ตามแบบอย่างการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้แก่ การใช้นาฬิกา ราคาเรือนละ 750 บาท รองเท้าชำรุดก็ซ่อมให้สามารถใช้ได้ต่อไป เสื้อ และห้องทำงานที่พระองค์ใช้ตลอดพระชนม์ชีพ ที่ไม่ได้เป็นของราคาแพงหรือหรูหรา เป็นเพียงให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์เท่านั้น
28 มี.ค. 2023
เจ้าหน้าที่อบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต"
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรม e-Learning หลักสูตร "สร้างวิทยากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต" ผ่านระบบแพลตฟอร์มต้นทุจริตศึกษา (Anti Corruption Education Platform) ของสำนักงาน ป.ป.ช. https://aced.nacc.go.th จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นางสาวปิยกุล กรรณสูต ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ 2. นางสาวศุภาลัย การบรรจง ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต การประยุกต์หลักควมพอเพียงด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต และการฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากร 2. เพื่อสร้างวิทยากรที่มีทักษะและสามารถขยายผลองค์ความรู้ไปสู่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อมุ่งสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตขอบเขตเนื้อหา วิชาที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม วิชาที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต วิชาที่ 3 การประยุกต์หลักความพอเพียงด้วยโมเดล STRONT : จิตพอเพียงต้านทุจริต วิชาที่ 4 การฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากร
27 มี.ค. 2023
การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ของ ป.ป.ช.
การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ของ ป.ป.ช. ป.ป.ช. ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความรู้ความเข้าใจและสามารถแยกแยะการขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการทุจริต ป.ป.ช.จึงขอเชิญชวนบุคลากรในหน่วยงาน เข้าศึกษาองค์ความรู้ดังกล่าว พร้อมทดสอบความรู้ความเข้าใจและรับวุฒิบัตร (E-Certificate) เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานจะได้มีความรู้ความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง อันป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ฯ และแบบทดสอบดังกล่าวได้ตาม QR Code หรือ ลิงค์ ด้านล่าง จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 https://sites.google.com/view/e-learningcoi นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ได้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ของ ป.ป.ช. เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันของผลประโยชน์ให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการประชุมหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3/2566 ประจำเดือนมีนาคม 2566 ณ วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมประกายแดง ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยในระเบียบวาระการประชุมที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ 1.2 สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันของผลประโยชน์ นั้น ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ประธานการประชุม ได้แจ้งเกี่ยวกับการขัดกันของผลประโยชน์ ภายใต้แผนปฏิบะัติการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบนโยบายในครั้งนี้ จำนวน 35 ราย และได้เชิญชวนให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสหากรรม เข้าศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ พร้อททดสอบความรู้และรับวุฒิบัตร ตาม QR Code ได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566
21 มี.ค. 2023
กิจกรรมทดสอบความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการกระทำผิดเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์
กิจกรรมทดสอบความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการกระทำผิดเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ตามกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วัตถุประสงค์ : เพื่อให้เจ้าหน้ที่ของรัฐมีความรู้ความเข้าใจและสามารถแยกแยะกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการทุจริต ตัวชี้วัด : เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีการทดสอบความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการกระทำผิดเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ตามกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจขัดกันแห่งผลประโยชน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในเดือนมีีนาคม 2566 ของ ป.ป.ช. และมีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ กิจกรรมผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ช่องทาง ผู้รับผิดชอบ : คณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (Integity and Transparency Assessment : ITA) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ตามคำสั่ง ศภ.8 กสอ. ที่ 1/2566 สั่ง ณ วันที่ 19 มกราคม 2566 ก่อนการดำเนินการ คณะทำงานฯ ได้ประชาสัมพันธ์ทางกลุ่ม line GCC3_อก_ศภ.8 ให้เจ้าหน้าที่ได้รับทราบเกี่ยวกับ ป.ป.ช. ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกีี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความรู้ความเข้าใจและสามารถแยกแยะการขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่เป็นการขัดแห่งผลประโยชน์อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการทุจริต และเชิญชวนให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าศึกษาองค์ความรู้ พร้อมทดสอบความรู้ความเข้าใจและรับวุฒิบัตร (E-Certificate) เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานจะได้มีความรู้ความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ และแบบทดสอบ ได้ตาม QR Code หรือ ลิ้งค์ https://sites.google.com/view/e-learningcoi จึงถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ได้ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ในที่ประชุมหน่วยงาน ครั้งที่ 3/2566 ประจำเดือนมีนาคม 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2566 ระหว่างดำเนินการ เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เข้าศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และร่วมการทดสอบความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการกระทำผิดเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ตามกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจขัดกันแห่งผลประโยชน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในเดือนมีีนาคม 2566 ของ ป.ป.ช. หลังดำเนินการ บุคลากรของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสหากรรม จำนวน 50 คน จากเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 56 คน คิดเป็นร้อยละ 89.28 ได้รับวุฒิบัตรผ่านการทดสอบความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการกระทำผิดเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ตามกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจขัดกันแห่งผลประโยชน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในเดือนมีีนาคม 2566 ของ ป.ป.ช. โดยมีผู้ได้รับวุฒิบัติ จำแนกเป็นข้าราชการ จำนวน 13 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 8 คน พนักงานราชการ จำนวน 14 คน ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 5 คน และพนักงานจ้างเหมาบริการ จำนวน 10 คน และมีประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจกรรมผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ช่องทาง ดังนี้ 1. กลุ่ม line GCC3_อก_ศภ.8 2. ในที่ประชุมหน่วยงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3/2566 ประจำเดือนมีนาคม 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2566 3. เว็บไซต์ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม https://ipc8.dip.go.th และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมคือ เจ้าหน้ที่ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถแยกแยะกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการทุจริต
07 มี.ค. 2023
การประกาศนโยบายเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)
การประกาศนโยบายเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบนโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบนโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ในการประชุมหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2/2566 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมประกายแดง ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยในระเบียบวาระการประชุมที่ 1.2 มอบนโยบายไม่รับขอบขวัญและของกำนัลทุกชนืิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) นั้น ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ประธานการประชุม ได้แจ้ง "ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่องไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566" ภายใต้แผนปฏิบะัติการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงยประมาณ พ.ศ. 2566 ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบนโยบายในครั้งนี้ จำนวน 43 ราย และเจ้าหน้าที่ร่วมกันทำสัญลักษณ์การประกาศนโยบายเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) กำมือขวาทับมือซ้าย หมายถึง การต่อต้านการทุจริต
27 ก.พ. 2023
กิจกรรมสร้างการรับรู้ให้กับผู้มาติดต่อรับบริการและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์
กิจกรรมสร้างการรับรู้ให้กับผู้มาติดต่อรับบริการและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์"การไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)" คณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินกิจกรรมการสร้างการรับรู้ให้กับผู้มาติดต่อรับบริการและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ "การไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)" โดยประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ จำนวน 3 ช่องทาง ดังนี้ 1. บอร์ดประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน 2. ห้องบริการข้อมูลและให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นของหน่วยงาน 3. เว็บไซต์หน่วยงาน https://ipc8.dip.go.th/th/category/2023-02-22-10-53-48/no-gift-policy-1
27 ก.พ. 2023
"สุจริตโปร่งใส จังหวัดสุพรรณบุรีใสสะอาด 2566" และ "งดรับงดให้ของขวัญของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)"
จังหวัดสุพรรณบุรี ประกาศเจตนารมณ์ "สุจริตโปร่งใส จังหวัดสุพรรณบุรีใสสะอาด 2566" และ "งดรับงดให้ของขวัญของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)" นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 มอบหมายให้ นางสาวปิยกุล กรรณสูต ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ 1/2566 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ในวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี โดยมี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานการประชุมฯ ในระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ ดังนี้ วาระที่ 3.2 เรื่องการประกาศเจตนารมณ์ "สุจริต โปร่งใส จังหวัดสุพรรณบุรี ใสสะอาด 2566" และ "งดรับ งดให้" ของขวัญ ของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) วาระที่ 3.3 เรื่องนโยบายการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของจังหวัดสุพรรณบุรี 3.3.1 การทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 3.3.2 การกำหนดให้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวาระจังหวัด 3.3.3 คู่มือและปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 3.3.4 ประกาศจังหวัดสุพรรณบุรี เรื่องนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล และ ประกาศจังหวัดสุพรรณบุรี เรื่องหลักเกณฑ์ มาตรการ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียน กรณีเกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบของหน่วยงาน ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 3.3.5 การประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี มอบหมายให้ส่วนราชการทำประกาศเจตนารมณ์ และให้ประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดรับทราบโดยทั่วกัน นั้น ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดรับทราบโดยทั่วกัน ในการประชุมหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2/2566 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ในวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมประกายแดง ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดังนี้ วาระที่ 1.2 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ประธานการประชุม ได้แจ้ง "ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่องไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566" ภายใต้แผนปฏิบะัติการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงยประมาณ พ.ศ. 2566 วาระที่ 5.4 นางสาวปิยกุล กรรณสูต ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค ได้แจ้งข่าวสารจากการประชุมหัวหน้าส่วนราขการจังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ 1/2566 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และตามหนังสือศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ สพ 0017.3/ว3866 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เรื่องระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2565 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 9 ง วันที่ 13 มกราคม 2566 และมีาผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปโดยมีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ จำนวน 43 ราย
22 ก.พ. 2023